วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

ตีความมาตรา 181 รักษาการ ครม. ตอน 2







บทความต่อเนื่องจากบทความ ตีความมาตรา181 ครม.รักษาการ

เมื่อวานขณะผมกำลังขับรถกลับบ้าน ได้ฟัง fm.101 มีนักกฎหมายท่านนึงชื่อ อาจารย์ชัยยงค์ ไม่แน่ใจใช่ ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ หรือไม่

อาจารย์ชัยยงค์บอกว่า กฎหมายที่กำหนดหน้าที่ ที่บังคับให้คนต้องกระทำ แม้จะต้องฝืนใจคน มีไม่กี่กฎหมายเช่น

กฎหมายเรื่องการเกณฑ์ทหาร แม้ชายไทยคนไหนจะไม่อยากมาเกณฑ์ทหาร หรือไม่อยากเป็นทหาร ก็ต้องมาเข้าระบบการเกณฑ์ทหารอยู่ดี นี่คือลักษณะกฎหมายเชิงบังคับ

หรือกฎหมายเกณฑ์แรงงานในช่วงสงครามเป็นต้น ที่เป็นลักษณะกฎหมายบังคับว่าต้องทำ ไม่ทำก็มีความผิด

แต่ในกรณีอาสามาทำงานการเมือง อาสามาเป็นนายกรัฐมนตรี หากไม่อยากทำหน้าที่ต่อไป ก็ลาออกได้ ไม่มีกฎหมายกำหนดบทลงโทษใด ๆ

การที่อ้างรัฐธรรมนูญมาตรา181ได้บังคับว่า ต้องรักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไปหลังยุบสภา มันเป็นแค่การกำหนดบทบาทหน้าที่ของรักษาการนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น

แต่ถ้าหากไม่อยากจะทำหน้าที่นั้นต่อไป ก็สามารถลาออกได้เสมอ ไม่มีบทลงโทษใด ๆ ไม่ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญใด ๆ เพราะการลาออกจากอาชีพหรือตำแหน่ง มันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคน


----------------------



ผมขอยกตัวอย่างใน รัฐธรรมนูญมาตรา 182 การพ้นจากตำแหน่งของรัฐมนตรี (รวมถึงนายกรัฐมนตรี)

เช่น

1 ตาย

ถามว่า ถ้าตอนนี้ยิ่งลักษณ์เกิดตายขึ้นมา จะถือว่า กระทำขัดมาตรา 181 ที่ต้องอยู่รักษาการนายกฯ หรือไม่ ?

2 ลาออก

ตรงนี้ก็เช่นเดียวกับการตาย คือ นายกมีสิทธิลาออกได้ และไม่ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพราะมันเป็นสิทธิเสรีภาพของนายกรัฐมนตรีครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




counter statistics