วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยิ่งลักษณ์ต้องยุบสภา ลาออก ใช้มาตรา 7







บทความนี้ต่อเนื่องจาก บทความ นี่คือหนทางที่จะเกิดสภาประชาชนได้

แต่ในบทความนั้น ผมได้เขียนถึงหนทางที่จะมีสภาประชาชน ในสถานการณ์ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ยอมถอย ยอมหักไม่ยอมงอ

แต่ในบทความนี้ ผมจะเขียนในกรณีที่ ถ้ายิ่งลักษณ์ยอมถอย ตามที่ได้แถลงต่อหน้าสื่อเมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค.ผ่านมา

---------------------

ขั้นตอนการถอยที่ทำได้ตามรัฐธรรมนูญ

1. ยิ่งลักษณ์ต้องยุบสภา เพื่อให้ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อไป

2. หลังจากยุบสภาแล้ว ยิ่งลักษณ์ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดภาวะไร้รัฐบาล

ตามหลักการที่ว่า ประเทศจะขาดรัฐบาลไม่ได้ ก็จำเป็นต้องสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนทันที

แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ2550 ในมาตรา 171 กำหนดว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

แต่ในเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ถูกยุบไปแล้ว ก็จะทำให้ไม่สามารถสรรหานายกรัฐมนตรีที่มาจาก สส. ได้อีก

ก็จะเกิดภาวะสูญญากาศทางการเมือง ซึ่งจะเข้าทาง รธน.50 ใน มาตรา 7 ทันที

-----------------------

ใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

"มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่สามารถหานายกรัฐมนตรีที่เป็น สส. ได้

ตามประเพณีไทย เราก็จะต้องพึ่งคนกลางที่สุด ที่คนไทยเราเชื่อถือที่สุด ซึ่งก็คือ ในหลวงของเรา

"มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"

เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี แต่เมื่อสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบไปแล้ว ก็สามารถให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจโดยตรงได้

ฉะนั้นเราจึงสามารถใช้มาตรา 7 เพื่อทูลเกล้าถวายฎีกาต่อในหลวง เพื่อให้ในหลวงพระราชทานนายกรัฐมนตรี เพื่อมาบริหารประเทศเป็นการชั่วคราวในช่วงสูญญากาศทางการเมือง ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ต่อไป

โดยผู้ที่จะทูลเกล้าถวายฎีกา น่าจะเป็นประธานวุฒิสภา  ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร

ตามหลักการในรัฐธรรมนูญ "เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาต้องทำหน้าที่แทน"

---------------------

ถ้าจะให้เกิดสภาประชาชนได้

ก็ใช้มาตรา 7 เช่นเดียวกัน

ให้วุฒิสภามีมติเพิ่มบทเฉพาะกาล เพื่อกำหนดให้ขยายระยะเวลาการเลือกตั้งครั้งต่อไป เลื่อนออกไปอีก 1 ปี เพื่อจะได้ไม่ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หลังยุบสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

ซึ่งในช่วงเวลา1 ปีนี้ ก็ต้องรีบจัดการตั้งสภาประชาชนขึ้นมา เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

และหลังจากเขียนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือฉบับสภาประชาชน เสร็จเรียบร้อยแล้ว

ก็ต้องจัดทำประชามติล้มรัฐธรรมนูญ2550 ลง เพื่อนำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมาประกาศใช้แทนได้

แต่ถ้าประชามติล้มรัฐธรรมนูญ 2550 เกิดไม่ผ่าน ก็เท่ากับต้องกลับไปใช้รัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนเดิม

ก็เท่ากับว่า การต่อสู้ของมวลมหาประชาชนที่ผ่านมาทั้งหมด กลายเป็นสูญค่าไป ต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่อีก

==============

แต่ผมว่า ยิ่งลักษณ์จะไม่ทำตามที่เธอแถลงน่ะสิ ว่าจะยอมถอยให้ทุกอย่างโดยที่ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

เพราะนั่นเท่ากับว่า ฆ่าตระกูลชินวัตรทางการเมืองด้วยมือเธอเอง

ถ้าวิธีในบทความนี้ยังไม่มีใครยอมใคร

งั้นก็ต้องย้อยกลับไปในวิธีแรก ที่ผมเสนอในบทความ นี่คือหนทางที่จะเกิดสภาประชาชนได้ อีกที


--------------------

วรเจตน์ ต้านมาตรา 7

ผมฟังวรเจตน์ พูดเรื่องมาตรา 3 และมาตรา 7 ทางทีวีไทย มันบอกว่าใช้มาตรา 7 ไม่ได้

ผมล่ะขำมันจริงๆ เพราะมันก็พูดบนพื้นฐานความคิดไม่ชอบเจ้า หรือฝ่ายล้มเจ้านั่นแหละ

พวกนิติราษฎร์มันเกลียดมาตรา 7 มาก เพราะนั่นคือการถวายคืนพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเต็มอีกครั้ง

พวกเสื้อแดง โดยไอ้คางคกตู่ กับนังธิดานกแสก ก็เหมือนกัน มันประกาศไม่ยอมรับมาตรา 7 อ้างถ้ามีนายกฯ จากมาตรา 7 จะขัดรัฐธรรมนูญ

เหอะ ๆ พวกนี้มันก็ตีความ รธน.เข้าข้างตัวเองเช่นกัน

เมื่อก่อนพวกมันเกลียดเหลือเกิน รธน. 50 เนี่ย แต่ตอนนี้ดันเกาะ รธน.50 ซะเหนียวแน่นไม่ยอมปล่อย อ้างความชอยธรรมใน รธน. 50 มาบังหน้าซะงั้น

โดยเฉพาะวรเจตน์ มันบอก ไม่ควรมีมาตรา 7 ใน รธน.ด้วยซ้ำ เพราะไม่มีประโยชน์

ที่มาตรา 7 ไม่มีประโยชน์ในสายตาคนพวกนี้ เพราะพวกล้มเจ้ามันกลัวพระบารมีมากล้นของในหลวงต่างหาก


คลิกอ่าน เป้าหมายสูงสุดของมวลมหาประชาชน กับการได้มาของนายกรัฐมนตรีมาตรา 7 ที่มาจากการเลือกตั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




counter statistics