วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิกฤติแยกดินแดนไครเมีย เราควรเข้าข้างใคร






หลังจากประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งของยูเครน นายวิกตอร์ ยานูโควิช ลี้ภัยไปอยู่รัสเซีย สาเหตุเพราะเขาตระบัตย์สัตย์ต่อประชาชน โดยล้มแผนนำยูเครนเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่กลับไปอิงซบรัสเซียแทน ทำให้เกิดการชุมนุมของประชาชนประท้วงขับไล่เขาลงจากอำนาจ

ในที่สุดเขาก็หนีไปอยู่รัสเซีย จนก่อให้เกิดวิกฤติในแคว้นไครเมีย ต้องการแยกดินแดนออกจากยูเครน เพื่อไปเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียแทน สาเหตุเพราะประชากรส่วนใหญ่ในแคว้นไครเมีย มีเชื้อสายรัสเซีย และพูดภาษารัสเซียเป็นส่วนใหญ่

และจากที่สหรัฐอเมริกา ชอบให้การสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมาโดยตลอด เช่นสนับสนุนรัฐบาลยิ่งลักษณ์

พอเกิดวิกฤติในยูเครน ประธานาธิบดียูเครนที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่เข้าข้างสหรัฐ แต่กลับไปอิงซบรัสเซีย ได้ประกาศว่า ประธานาธิบดียูเครนคนใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภายูเครนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะประธานาธิบดียูเครนตัวจริงของเขายังไม่ได้ลาออก

ก็ทำให้ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ นายจอห์น เคอร์รี ต้องออกมาพูดว่า

"ประชาธิปไตยไม่ได้ถูกจำกัดความเฉพาะการเลือกตั้งอย่างเดียว...เมื่อไม่มีการปฏิรูป ย่อมมาพร้อมกับการทุจริตใหญ่โต การเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง และบิดเบือนกระบวนการประชาธิปไตยขนานใหญ่"

ประโยคนี้ของนายจอห์น เคอร์รี นี่เอง ที่ทำให้ฝ่ายเชียร์ กปปส. นำไปใช้สอนควายแดง และทำให้หลายคนหลงเข้าใจผิดคิดไปเองว่า สหรัฐอเมริกาเลิกเชียร์ยิ่งลักษณ์แล้วหรือ ?

ไม่ใช่นะครับ นายเคอร์รี่ เขาพูดในกรณีวิกฤติยูเครนเท่านั้น เขาไม่ได้หมายถึงวิกฤติของไทยแต่อย่างใด

ดูเหมือนนายจอห์น เคอร์รี จะบังเอิญได้รู้ว่า คำพูดของเขานั้น โดนฝ่าย กปปส. นำมาใช้ประโยชน์ ก็เลยทำให้นายจอห์น เคอร์รี่ ต้องออกมาแสดงจุดยืนต่อวิกฤติในไทยว่า

"วอชิงตันไม่เลือกเข้าข้างฝ่ายใดให้เป็นหน้าที่ของคนไทยเองที่จะต้องแก้ไข"

การออกมาพูดถึงไทยของนายจอห์น เคอร์รี่ ก็ยิ่งตอกย้ำว่า เอียงเข้าข้างรัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่ดี

-----------------

บทบาทจีน ใน วิกฤตืไครเมีย

ปกติจีนจะเข้าข้างรัสเซียมาโดยตลอด เพราะจีนต้องการช่วยรัสเซียในการถ่วงดุลอำนาจสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

แต่ในวิกฤติไครเมีย จีนกลับไม่เข้าข้างรัสเซีย แต่ก็ไม่ถึงกับหักหาญน้ำใจรัสเซียเพื่อนเกลอ ด้วยการแสดงจุดยืนเป็นกลางในวิกฤตินี้

สาเหตุก็เพราะ ถ้าจีนเข้าข้างรัสเซีย ก็จะทำให้ไปกระทบกรณีไต้หวัน กรณีทิเบต และกรณีแคว้นซินเจียงของชาวอุยกู ไปด้วย

เพราะถ้าจีนสนับสนุนการการที่แคว้นไครเมียทำประชามติขอแยกดินแดนออกจากยูเครน แล้วถ้าเกิดไต้หวันขอทำประชามติแยกประเทศออกจากจีนบ้าง จีนก็จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ส่วนสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ประกาศไม่ยอมรับประชามติของชาวไครเมีย โดยอ้างว่าขัดรัฐธรรมนูญยูเครน

------------------

แล้วไทยควรเข้าข้างไหน

ที่จริงกรณีไครเมีย ประเทศไทยเราก็ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องอะไรกับเขาหรอก

แต่ถ้าถามว่า คนไทยเราควรเข้าข้างฝ่ายไหน

ต้องตอบว่า ต้องเข้าข้างยูเครนครับ เพราะไทยเราก็มีปัญหาแบ่งแยกดินแดนเหมือนกัน โดยเฉพาะในปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้

คือ มีแนวโน้มว่ารัฐบาลไทยมีแนวคิดอยากจะให้เกิดเขตปกครองพิเศษปัตตานีขึ้นมา เพื่อหวังว่าจะช่วยลดปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดใต้ลงได้

แต่นั่นก็จะกลายเป็นดาบ 2 คม ที่อาจทำให้ต่อไปเขตปกครองพิเศษปัตตานีจะขอทำประชามติแบ่งแยกดินแดนเลียนแบบไครเมียบ้างเช่นกัน โดยจะขอไปรวมเป็นประเทศเดียวกับมาเลเซีย

เหมือนที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความ เรื่อง แผนชั่วของมาเลเซียใน 3 จังหวัดภาคใต้

แม้ดูเหมือนจะยาก แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะความรุนแรงใน 3 จังหวัดใต้ ที่พวกโจรก่อการร้ายกระทำการป่าเถือน โหดร้ายมาหลายปีนั้น

ผมรับรองได้เลยว่า พวกมันไม่ได้หวังแค่ปกครองตนเองแล้วยังเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทยต่อไป


คลิกอ่าน รัฐบาลตระบัดสัตว์ยูเครน vs รัฐบาลตอแหลยิ่งลักษณ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




counter statistics