พวกโง่ ๆ ทั้งหลายที่มีโอ๊ค พานทองแท้ เป็นแกนนำพยายามจะโจมตีพรรคประชาธิปัตย์เรื่อง ปรส. ตามนี้

อยากจะโจมตีประชาธิปัตย์ ก็ทำไปครับ ผมไม่ติดใจอะไร แต่ถ้าบิดเบือนเพื่อใส่ร้ายนี่สิ ลูกผู้ชายมีคุณธรรมไม่พึงกระทำ
แต่เผอิญโอ๊ค มันไม่ใช่ลูกผู้ชายแถมไร้คุณธรรมด้วยไง มันเลยชอบสร้างเรื่องเท็จเพื่อโจมตีใส่ร้ายคนอื่น
บทความนี้ผมจะไม่อธิบายอะไรให้ยาวนะครับ ผมเอาเฉพาะประเด็นหลัก ๆ 2 ประเด็นเท่านั้นคือ
เรื่องแรกคือ เรื่องที่รัฐบาลชวน แต่งตั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ปรส. คนที่ 2 แทนนายธวัชชัย ยงกิตติกุล ประธาน ปรส. คนแรกที่แต่งตั้งจากรัฐบาลชวลิต ก่อนที่รัฐบาลชวลิตจะลาออก
ประเด็นนี้ โอ๊ค พยายามใช้สันดานเลวเหมือนคนที่คุณรู้ว่าใคร เขียนใส่ร้ายให้คนอ่านตีความไปทำนองว่า รัฐบาลชวนปลดนายธวัชชัน ยงกิตติกุล ประธาน ปรส. คนแรกออกไป เพื่อรัฐบาลชวนจะได้แต่งตั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อน เข้ามาแทน
นี่คือ การบิดเบือนใส่ร้ายอย่างหน้าด้าน ๆ สมกับการเป็นโอ๊ค พานทองแท้ จริง ๆ เพราะความจริงที่ถูกต้องคือ นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ประธาน ปรส. คนแรก ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเอง
ในเมื่อประธาน ปรส. ลาออกเอง มันก็จำเป็นต้องแต่งตั้งประธาน ปรส. คนใหม่ขึ้นมาแทน ถ้าจะโทษก็ต้องโทษรัฐบาลชวลิตนั่นแหละ ดันแต่งตั้งคนที่เขาไม่อยากทำงานให้มาทำงานเอง
แล้วการที่รัฐบาลชวน แต่งตั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ปรส. นั้น หากนายอมเรศ กระทำผิดใด ๆ เช่นเอื้อประโยชน์ต่างชาติ หรือช่วยไม่ให้ต่างชาติเลี่ยงภาษี ก็ต้องฟ้องร้องเอาผิดที่นายอมเรศ และคณะกรรมการ ปรส. ที่เกี่ยวข้อง
เพราะ ปรส. เป็นองค์กรอิสระ รัฐบาลและนักการเมืองไม่มีอำนาจแทรกแซงการทำงานได้ เพราะมีกฎหมายควบคุมอยู่ ซึ่งรัฐบาลชวลิตก็เป็นคนออก พรก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 เอง เรื่องนี้เป็นไปตามที่ไอเอ็มเอฟกำหนดมา เพราะกลัวนักการเมือง(แบบชวลิต ทักษิณ) จะแทรกแซง ปรส. จนทำให้ไทยพังซ้ำอีกรอบ
ส่วนเรื่องการเกิดขึ้นของคณะกรรมการ ปรส. ชุด 2 นั้น อันนี้ผมไม่มีรายละเอียดว่า ทำไมจึงเกิดชุด 2 ขึันมาแทน แต่ถ้าหากคณะกรรมการ ปรส. ชุดแรก เกิดลาออกเอง ก็ช่วยไม่ได้
เพราะแม้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังจะมีอำนาจปลดคณะกรรมการ ปรส. ได้แต่ก็ต้องมีเหตุผลที่สมควรเช่น บกพร่องต่อหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งกำหนดอำนาจนี้ไว้ในมาตรา 14 พรก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540
ซึ่งถ้านายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รมว.คลังในตอนนั้น เคยปลดคณะกรรมการปรส.ชุดแรก โอ๊คก็ควรเอาหลักฐานมาเปิดเผยด้วย ไม่ควรพูดลอย ๆ ให้คนเข้าใจไปว่า รัฐบาลชวนปลดคณะกรรมการ ปรส. ชุดแรก เพื่อจะแต่งตั้งชุดที่ 2 แทน เช่น โอ๊คควรยกตัวอย่างว่าคณะกรรมการชุดแรกมีใครบ้าง และคณะกรรมการชุด 2 มีใครบ้าง ไม่ใช่แค่เปลี่ยนตัวนายอมเรศ ศิลาอ่อนคนเดียว ก็เลยเหมาว่า นี่คือคณะกรรมการ ปรส.ชุด 2 (ถ้าโอ๊คแน่จริงเอาออกข้อมูลแฉมา
ส่วนการแต่งตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาใหม่นั้น ก็มีกำหนดไว้ใน พรก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 มาตรา 11 และมาตรา 12 ไม่ใช่นึกอยากแต่งตั้งใครก็ทำได้โดยไม่มีขื่อมีแป
ดูมาตรา 11 12 13 14 พรก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 เรื่องการแต่งตั้ง และการพ้นวาระของคณะกรรมการ ปรส.
คลิกที่รูปเพื่อขยาย

-----------------
ประเด็นเรื่อง ไม่แยกหนี้ดี ออกจากหนี้เสีย
มีวาทกรรมที่ใช้กันมานานของพวกขี้ข้าทักษิณ โดยเฉพาะนายสมัคร สุนทรเวชชอบยกมาอ้างประจำ คือ เรื่อง ปรส. ไม่แยกหนี้ดีออกจากหนี้เสีย ทำให้ขายทรัพย์สมบัติชาติขาดทุน 8 แสนล้าน ตอนหลังพวกนี้เริ่มหายโง่กลับมาที่ตัวเลข 6 แสนล้านแทน
เรื่องนี้อธิบายง่าย ๆ ได้เลยครับว่า มันยากที่จะแยกออกจากกัน
ขอตัวอย่างเช่น การปล่อยกู้ 5ล้านบาท ให้กับที่ดินค้ำประกันเงินกู้ที่มีมูลค่าแค่ 5 แสนบาท
กรณีการปล่อยกู้ให้ที่ดินมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริงหรือถูกปั่นจนราคาสูงเกินความเป็นจริงจากกระแสการเก็งกำไรแบบนี้ เราจะแยกได้เป็นหนี้ดีมูลค่าไม่เกิน 5 แสนบาท แต่จะมีหนี้เสียมูลค่าอย่างน้อย 4.5 ล้านบาท เพราะต้องบวกดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย มันจึงมีทั้งหนี้ดีและหนี้เสียในที่ดินแปลงเดียวกัน
พอจะมองภาพออกไหมครับว่า การแยกหนี้ดีกับหนี้เสีย มันยากที่จะแยกออกจากกัน เพราะสินทรัพย์จำนวนมากมันเป็นสินทรัพย์ตัวเดียวกัน เป็นต้น
ซึ่งมีทรัพย์สินทำนองเดียวกันกับที่ผมยกตัวอย่างมากมายนับหมื่นนับแสนรายการ ในสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง
การที่ขายทรัพย์สินที่รวมทั้งหนี้ดีและหนี้เสีย จึงเป็นเรื่องเหมาะสมกว่ามานั่งแยกหนี้ดีกับหนี้เสีย เพราะการแยกหนี้หนี้เสียจะทำให้เสียงบประมาณ เสียเวลา และใช้บุคลากรจำนวนมาก แถมเวลาขายอาจทำให้ขายยากและเสี่ยงที่จะได้ทรัพย์สินต่ำกว่าการไม่แยกหนี้ดีกับหนี้เสียอีกด้วย ซึ่งคณะกรรมการ ปรส.พิจารณาแล้วว่า มันไม่คุ้ม
ที่สำคัญทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง เป็นหนี้เสียที่เกิดจากการปั่นราคาในการปล่อยกู้แบบชุ่ย ๆ มากกว่า 75 %
ดังนั้น การที่ขายสินทรัพย์ที่มีทั้งหนี้เน่าและหนี้ดีมูลค่า 8 แสนล้าน ได้มา 1.9 แสนล้านบาทนั้น สำหรับผม ผมมองว่า ก็ดูเหมาะสมแล้ว
การสร้างวาทะกรรมเท็จว่า ทำชาติเสียหาย 6 แสนล้านที่โอ๊คโพสในตอนหลังนี้ จึงเป็นวาทะกรรมโง่ ๆ ไว้หลอกคนที่ไม่รู้เรื่องอย่างหน้าด้าน ๆ สมกับความเป็นโอ๊ค
การขายหนี้เน่าส่วนใหญ่ แต่จะให้ได้ราคาเท่าเดิม คือวาทะกรรมเท็จที่ไว้หลอกคนโง่อย่างเสื้อแดงเท่านั้น
ส่วนคนที่ยังถูกดำเนินคดีว่ามีความผิดอาญาในคดี ปรส. นี้ ตอนนี้เท่าที่ทราบเหลือคนเดียวคือ นายมนตรี เจนวิทย์การ เลขา ปรส. เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน ซึ่งเป็นบริษัทของภรรยาพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์
----------------
ขอฝากข้อเขียนของคุณหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม ที่เขียนถึงโอ๊คในท้ายบทความว่า
"ผมไม่รู้ว่า โอ๊ค ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ หรือคนที่พิมพ์ข้อความให้"โอ๊ค"ตั้งใจให้"โอ๊ค"หน้าแตก เพราะปปช.เขาแถลงตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย.2557 แล้วว่าคดี ปรส.ไม่เหลือติดค้าง ป.ป.ช.แล้ว
ป.ป.ช.เขาแถลงว่า คดีที่ร้องป.ป.ช.มี6 คดี ยกคำร้องเพราะไม่มีมูล 3 คดี อีก 1 คดีต้องยุติเพราะอยู่ในการพิจารณาคดีของศาล และอีก 2 คดีส่งต่ออัยการและร้องต่อศาลแล้ว"
คลิกอ่าน โอ๊คโชว์โง่คดี ปรส. และอวยจำนำข้าวอย่างหน้าด้าน
ข้อความไหนที่ทำให้ ตีความได้ว่า โอ้คทำให้เชื่อว่า ประธาน ปรส.คนแรก โดนปลดโดย ปชป.ครับ บทความแบบนี้เหมือนตีขลุม คลุมเครือ ก็เหมือนตีความได้ว่าเอาเองตั้งแต่แรกมั้ยครับ
ตอบลบแสดงว่า คุณอ่านที่โอ๊คเขียนไม่แต่กสิครับ
ลบโอ๊ค บอกชวลิต ตั้ง คณะกรรมการ ปรส. ขึ้นมา โดยมีนายธวัชชัย เป็นประธาน
แล้วโอ๊ค ก็เขียนว่า พอชวน เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ตั้งคณะกรรมการ ปรส. ชุด 2 ขึ้นมาแทน โดยมีนายอมเรศ เป็นประธาน
เพียงแค่นี้คุณยังอ่านไม่แตกเหรอครับ ?
แบบนี้เขาเรียกว่า เขียนแบบบอกความจริงไม่หมด เจตนาทำให้คนตีความผิดได้ ว่า ประธานคนเก่าหายไปไหน ทำไมชวนตั้งอมเรศขึ้นมาแทน
แม้โอ๊ค จะไม่ได้เขียนตรง ๆ แต่สามารถแปลเจตนาได้ครับ นี่แหละที่เขาเรียก บอกความจริงครึ่งเดียว
กะอีแค่เขียนว่า ประธานคนเก่า นาย ธวัชชัย ลาออกเอง ทำไมจะเขียนไว้ไม่ได้ ??