วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทำไมสหรัฐอเมริกาชอบเสือกการเมืองไทย







ปตท. กับ เชฟรอน บอกว่า แหล่งน้ำมันของไทยมันเล็ก ก็เลยขอเป็นสัมปทานจึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนสำรวจ แต่ทีแม่งแดกราคาน้ำมันสิงคโปร์มานาน ทำหน้าเซ่อไม่พูดถึงว่าคุ้มทุนนานแล้ว

แต่คนที่ต่อต้าน ปตท. เขาก็บอกว่า ขนาดเล็กพ่อมึงสิ พวกมึงหลอกคนไทยเพื่อพวกมึงจะได้แดกกันเองอิ่มหมีพลีมันล่ะสิไม่ว่า

ข้อสังเกต คือ ถ้าประเทศใดที่มีทรัพยากรน้ำมันมาก ประเทศนั้นสหรัฐอเมริกาจะเสือกมากเป็นพิเศษ แต่ประเทศใดไม่มีน้ำมัน สหรัฐอเมริกาไม่ค่อยอยากเสือก นี่คือเรื่องจริงที่มุสลิมอาหรับรู้ทั้งโลก

ส่วนประเทศไหนไม่มีทรัพยากรให้สหรัฐฯ มาสูบเท่าไหร่ มันก็จะไม่ค่อยสนใจ


แล้วการที่สหรัฐอเมริกามาเสือกกับไทยมากในตอนนี้นั้น ก็ไม่ใช่อะไรหรอก สหรัฐฯ ก็แค่อยากให้นักการเมืองเหี้ย ๆ ของไทยมีอำนาจต่อไป พวกนักการเมืองมันจะได้ช่วยต่อสัมปทานให้บริษัทน้ำมันสัญชาติอเมริกันมาสูบจากประเทศไทยต่อไปสบาย ๆ อีกนาน ๆ

คนไทยที่ต่อต้าน ปตท. เขาบอกว่า ประเทศไหน ๆ ที่เขามีน้ำมันให้ต่างชาติมาขุดมาสูบ เขาก็ใช้ระบบแบ่งสรรผลประโยชน์กันทั้งนั้น เช่น บริษัทน้ำมันสูบน้ำมันได้ 100 ต้องแบ่งให้รัฐบาลเจ้าของประเทศ 60-70 %

แต่มีประเทศไทยประเทศเดียวที่นักการเมืองไทยโดยเฉพาะทักษิณ ซึ่งไม่กี่วันก่อน รายงานข่าวช่องโมเดิร์นไนน์เพิ่งรื้อฟื้นความหลังว่า ทักษิณนี่แหละที่เห็นชอบให้มีการใช้ระบบสัมปทานพลังงานต่อไป หลังจากที่ ปตท. แปรรูปแล้วในสมัยทักษิณ

ก็ทักษิณมันก็รวยมาจากสัมปทานเหมือนกันนี่นา


แต่ที่จริงแม่งก็เลวทุกรัฐบาลทุกพรรคนั่นแหละ เพราะไม่เสือกมีรัฐบาลไหนคิดจะยกเลิกระบบสัมปทานพลังงาน ที่รัฐได้แค่่ค่าภาคหลวงราคาถูก ๆ เท่านั้น แล้วหันมาใช้ระบบแบ่งสรรผลประโยชน์เหมือนประเทศอื่น ๆ เลยสักรัฐบาลเดียว

ทำให้บริษัทน้ำมันขุดน้ำมันได้มากเท่าไหร่ ก็ต้องเป็นของบริษัทน้ำมันหมด

สหรัฐอเมริกา มันเลยชอบนักการเมืองไทยด้วยประการละฉะนี้แล !!

-----------------------


ประวัติ เชฟรอนประเทศไทย จากเว็บ เชฟรอนประเทศไทย

หลังจากที่เชฟรอนได้มีการผนวกรวมกิจการกับยูแคลไทยแลนด์เมื่อเดือนสิงหาคม 2548 ได้สร้างเสริมฐานธุรกิจของเชฟรอนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่งในฐานะผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติชั้นนำของประเทศไทย

ขณะนี้เรามีแท่นที่ดำเนินการผลิตปิโตรเลียมมากกว่า 230 แท่นในอ่าวไทย ซึ่งผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลว (คอนเดทเสท) ได้ประมาณ 120,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติอีกกว่า 1,700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 

ปัจจุบันเชฟรอนมีแปลงสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้นมากกว่า 32,000 ตารางกิโลเมตรในอ่าวไทย โดยปริมาณการผลิตในปัจจุบันมาจากพื้นที่ผลิตปิโตรเลียม 27 แห่ง

นอกจากนี้ เชฟรอนยังถือหุ้นร้อยละ 16 ในแหล่งก๊าซอาทิตย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมนวมินทร์อีกด้วย

ก๊าซธรรมชาติที่เชฟรอนผลิตได้ในประเทศไทยสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 1 ใน 3 ของปริมาณความต้องการภายในประเทศ

โดยก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้มากกว่าร้อยละ 75 นำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 25 นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงพาหนะ ก๊าซหุงต้ม และวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ทั้งนี้ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ทั้งหมด เชฟรอนจัดส่งขายให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ปตท. จะส่งก๊าซผ่านท่อใต้ทะเลไปยังโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ที่จังหวัดระยองและนครศรีธรรมราช เพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไป

ส่วนน้ำมันดิบที่เราผลิตได้นั้นจะมีการจัดจำหน่ายให้กับโรงกลั่นในประเทศ เช่น ไทยออยล์และบางจาก และส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศด้วย

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มีผู้ร่วมทุนในการดำเนินกิจการ 4 บริษัท ได้แก่:

บริษัท มิตซุยออยล์ เอ็กซโปลเรชั่น จำกัด
บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
บริษัท เฮสส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัท พลังโสภณ สอง จำกัด

------------------

ผมขอเสริมอีกนิด 

รัฐบาลไทยถือหุ้นใน ปตท. 51 % แทนที่ก๊าซที่ขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะได้ราคาถูก แต่กลับกลายเป็นว่า ปตท. แม่งขายก๊าซให้การไฟฟ้าแพงหูฉี่กว่ากลุ่มใด ๆ

นั่นแสดงว่า การที่รัฐบาลถือหุ้น ก็ไม่มีบทบาทอะไรที่ช่วยคนไทยได้เลย ก็เพราะข้าราชการที่ส่งไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ก็เข้าไปแดกผลประโยชน์ในการไฟฟ้า และ ปตท. ทั้งสิ้น !!


------------------------

ประวัติและการดำเนินงานของ เชฟรอนประเทศไทย

กว่าห้าทศวรรษของการดำเนินงานในประเทศไทย

พ.ศ. 2555 ฉลองครบรอบ 50 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซครบ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2554 ผลิตน้ำมันครบ 300 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2554  ผลิตก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ผลิตปลาทอง ระยะที่ 2 เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2554  ฉลองครบรอบ 30 ปี เอราวัณ แหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2554  ฉลองการผลิตน้ำมันครบ 200 ล้านบาร์เรลจากพื้นที่ผลิต B8/32
พ.ศ. 2554  เปิดศูนย์ขนส่งทางอากาศแห่งใหม่ ที่ จ. นครศรีธรรมราช
พ.ศ. 2553 ผลิตคอนเดนเสทครบ 300 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2553  ครบรอบ 30 ปีศูนย์เศรษฐพัฒน์ จ. สงขลา
พ.ศ. 2552 ผลิตก๊าซครบ 9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2551 ผลิตก๊าซครบ 8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2550  ได้รับสัมปทานแปลงใหม่อีก 4 แปลงได้แก่ G4/50, G6/50, G7/50 และ G8/50 โดยเชฟรอนเป็นผู้ดำเนินการในสามแปลงแรก
พ.ศ. 2550
ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับแปลงสัมปทานหมายเลข 10-13 ในอ่าวไทย กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยเชฟรอนจะจัดส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นที่อัตรา 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2550 ได้รับการต่ออายุสัมปทานการผลิตในอ่าวไทยแปลง 10-13 อีก 10 ปี (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2565)
พ.ศ. 2550 ผลิตก๊าซธรรมชาติส่งเข้าท่อก๊าซเส้นที่ 3 ของ ปตท. เฉลี่ยวันละ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2549 ผลิตก๊าซครบ 7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2549 ได้รับสัมปทานในอ่าวไทยเพิ่มเติมอีก 2 แปลงได้แก่ จี 4/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 504 ตารางกิโลเมตร) และ จี 9/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 252 ตารางกิโลเมตร)
พ.ศ. 2549 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 70,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
พ.ศ. 2548 ควบรวมกิจการระหว่างยูโนแคลคอร์ปอเรชั่นกับเชฟรอนคอร์ปอเรชั่น และเปลี่ยนชื่อจากบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็น บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
พ.ศ. 2548 ผลิตก๊าซครบ 6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุมสำรวจ 4 หลุมที่แปลง A ประเทศกัมพูชา
พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุม 1 หลุมที่ลันตา 1 และ ลันตา 2 ในแปลง จี 4/43
พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านบริหารความปลอดภัยจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2546 ผลิตก๊าซครบ 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2546 ผลิตน้ำมันดิบครบ 5 ล้านบาร์เรล
พ.ศ. 2546 เซ็นสัญญาแปลง จี 4/43 และ แปลง 9A ในอ่าวไทย
พ.ศ. 2545 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 60,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32
พ.ศ. 2545 ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณและแหล่งยูโนแคล 2/3 ลดราคาก๊าซธรรมชาติรวมมูลค่า 10,294 ล้านบาทภายในระยะเวลา 10 ปี
พ.ศ. 2545 ฉลองครบรอบ 40 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2545 ได้รับสัมปทานการสำรวจในแปลง A ประเทศกัมพูชา
พ.ศ. 2545 แผนกวิเคราะห์และควบคุมผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพ ISO 9001
พ.ศ. 2544 ขุดเจาะหลุมน้ำมันในแนวนอน (horizontal monobore oil well) หลุมแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2544 สร้างสถิติผู้นำการผลิตน้ำมันในอ่าวไทยบรรลุ 38,000 บาร์เรลต่อวัน
พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของแท่นกระบวนการผลิตน้ำมันแหล่งปลาทอง นับเป็นแท่นกระบวนการผลิตปิโตรเลียมแท่นแรกที่สร้างและประกอบในประเทศไทย
พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งก๊าซไพลินในอ่าวไทย
พ.ศ. 2543 ผลิตก๊าซครบ 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2543 ค้นพบแหล่งน้ำมันชบา ได้รับสัมปทานการสำรวจแหล่งจามจุรีเหนือ
พ.ศ. 2542 ประสบผลสำเร็จเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ในการขุดเจาะหลุมก๊าซตามแนวนอนเป็นหลุมแรกที่หลุม "ตราด A-07" ณ ความลึก 1,990 เมตร (6,530 ฟุต)
พ.ศ. 2542 ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสงขลาของยูโนแคลได้รับใบรับรองมาตรฐาน มอก. 1300 (ISO/IEC Guide 25) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2542 ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบปริมาณเชิงพาณิชย์ในอ่าวไทย ในแปลงสำรวจที่ 10A และ 11A
พ.ศ. 2542 ขุดเจาะหลุมก๊าซในแนวนอนหลุมแรกในอ่าวไทย
พ.ศ. 2542 เริ่มการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งเบญจมาศในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยเชฟรอนเป็นผู้ผลิตในวันที่ 1 ตุลาคม
พ.ศ. 2542 เชฟรอนควบรวมกิจการกับ Rutherford Moran Oil Corp. ในวันที่ 17 มีนาคม
พ.ศ. 2541 ฉลองครบรอบ 36 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
พ.ศ. 2541 เซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวกับ ปตท.
พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตร ISO 14001 ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2540 ผลิตก๊าซธรรมชาติครบ 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2540 ติดตั้งแท่นผลิตก๊าซ 3 ขาแท่นแรกที่ก่อสร้างในประเทศไทย
พ.ศ. 2540 เริ่มการผลิต ณ แหล่งทานตะวันในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และค้นพบแหล่งมะลิวัลย์
พ.ศ. 2539 ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งไพลินกับ ปตท.
พ.ศ. 2538 ค้นพบแหล่งเบญจมาศ และเริ่มต้นพัฒนาแหล่งทานตะวัน
พ.ศ. 2538 ขยายศูนย์เศรษฐพัฒน์ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ โดยการเพิ่มหน่วยฝึกอบรมปฏิบัติการฉุกเฉินและสถานีความปลอดภัยในน้ำ
พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองระดับสามขั้นสูง ด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย จากสถาบัน DNV ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ดำเนินการรับรองความปลอดภัยตามระบบ International Safety Rating System (ISRS)
พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยของกระทรวงอุตสาหกรรม มอบให้โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2537 ผลิตก๊าซครบ 2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2535 ค้นพบแหล่งทานตะวันในอ่าวไทย
พ.ศ. 2534 ได้รับสัมปทานการสำรวจปิโตรเลียมแปลง B8/32
พ.ศ. 2533 ผลิตก๊าซครบ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
พ.ศ. 2533 ติดตั้งสถานีเรดาร์ตรวจอากาศนอกฝั่งที่แหล่งก๊าซสตูล
พ.ศ. 2531 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 3 กับ ปตท.
พ.ศ. 2525 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 2 กับ ปตท.
พ.ศ. 2524 เริ่มผลิตก๊าซส่งขึ้นฝั่งที่โรงแยกก๊าซของ ปตท. จังหวัดระยอง
พ.ศ. 2523 ก่อตั้งศูนย์เศรษฐพัฒน์ เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมสำหรับพนักงานชาวไทย
พ.ศ. 2521 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับแรกกับ ปตท.
พ.ศ. 2516 ประสบความสำเร็จค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณเชิงพาณิชย์แหล่งแรกของประเทศ ในแปลงหมายเลข 12 ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าแหล่ง "เอราวัณ"
พ.ศ. 2511 ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลงหมายเลข 12 และ 13 ในอ่าวไทย
พ.ศ. 2505 บริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุมัติสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทย บริเวณที่ราบสูงโคราช


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




counter statistics