วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ศาสนาพุทธ กับ ชนชั้น วรรณะ







ความเท่าเทียมกันในทางพุทธศาสนา มี 2 อย่าง คือ

1. สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกล้วนสามารถสำเร็จเข้าถึงพระนิพพานได้ หากมีเจตนามุ่งมั่นจริง โดยไม่เลือกชั้น วรรณะ เพศ หรือ อายุ

และ 2 .สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม

แต่กฎแห่งกรรมที่ยังไม่ส่งผลให้เห็นทันตา ก็เลยทำให้คนเราหลายคนไม่เชื่อเรื่อง กฎแห่งกรรม

---------

ความเท่าเทียมกันในทางโลก

ส่วนเรื่องความเท่าเทียมกันในทางโลก ในความหมายที่คนทั่วไปมักเข้าใจไปเอง เช่น ผู้หญิงควรเท่าเทียมกับผู้ชาย กฎหมายต้องดำเนินคดีกับคนรวยเท่าเทียมกับคนจน เป็นต้น

แต่ที่จริงความไม่เท่าเทียมกันก็มีประโยชน์บางอย่างที่กำหนดไว้อย่างตายตัว เช่น ผู้ที่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็ต้องเกิดเป็นผู้ชายเท่านั้น และผู้ที่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าก็ต้องเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือวรรณะพราหมณ์เท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่า ในเวลานั้นวรรณะใดตระกูลใดได้รับการยกย่องมากกว่ากัน เป็นต้น

เฉกเช่น นิ้วมือคนเรา ที่ยาวไม่เท่ากัน เพราะหน้าที่แตกต่างกัน

แต่ในความเป็นจริงแห่งสัจธรรม ทุกจิตวิญญาณย่อมสามารถเกิดเป็นชายหรือเกิดเป็นหญิง หรือเพศผู้หรือเพศเมีย ก็ได้ทั้งนั้น สุดแต่กฎแห่งกรรมของแต่ละดวงจิตกระทำสั่งสมมา

จึงกลายเป็นว่า ทุกจิตวิญญาณย่อมมีสิทธิเกิดเป็นหญิงชายได้เท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมของแต่ละจิตวิญญาณ


-----------

ถ้าศาสนาพุทธบอกว่า คนเราต้องไม่มีชนชั้นวรรณะ ศาสนาพุทธก็คงยากที่จะเผยแพร่ในยุคพุทธกาล และยากที่จะเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพราะอาจเกิดการต่อต้านอย่างมากจากแนวความคิดเดิม ๆ ของผู้นับถือฮินดู

ส่วนศาสนาพุทธในไทยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยต่างก็เกื้อกูลซึ่งกันและกัน จนประเทศไทยเจริญในทางพุทธศาสนามากที่สุด

พระสุปฏิปันโนหลายรูปก็เทิดทูน และสอนให้คนไทยรักในหลวงให้มาก ๆ

นั่นเพราะ ศาสนาพุทธไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการมีชนชั้น

เพียงแต่ศาสนาพุทธจะไม่กีดขวางการเปลี่ยนแปลงสถานะทางชนชั้นของทุกคน

หัวใจสำคัญของศาสนาพุทธเรื่องชนชั้นจึงอยู่ตรงนี้ คือ การไม่ปฏิเสธการมีอยู่ของชนชั้น แต่จะไม่สอนหรือสนับสนุนให้ใครแบ่งชนช้้นกัน และจะไม่ปฏิเสธการเลื่อนฐานะทางสังคมหรือชนชั้น

ซึ่งแตกต่างจากชนชั้นวรรณะในฺศาสนาฮินดู ในอินเดีย ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงชนชั้นได้ไปตลอดชีวิต จะมีแต่ชนชั้นที่ยิ่งแย่ลงเช่น ต้องกลายเป็นจัณฑาล เป็นต้น

ที่จริง ๆ จะว่าไป ศาสนาพุทธเราแบ่งชั้นกันที่ภูมิธรรม และสถานะเพศสภาวะแห่งการดำรงศีล

เช่น  การแบ่งตามระดับภูมิธรรมหรือระดับของอริยะ ตั้งแต่ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์

การแบ่งตามสถานะเพศสภาวะแห่งการดำรงศีล เช่น เพศสภาวะที่ดำรงศีลมากกว่าย่อมมีสถานะสูงกว่าเพศสภาวะที่ดำรงศีลน้อยกว่า เช่น พระภิกษุ ย่อมมีสถานะสูงกว่าเณร และฆราวาส เป็นต้น

(แม้แต่นรกและสวรรค์ ก็ยังแบ่งเป็นหลายชั้นตามกำลังแห่งบุญบาปของแต่ละดวงจิต)

------------------------------------------

แต่สำหรับประเทศไทย คนเราทุกคนมีโอกาสเลื่อนสถานะชนชั้นทางสังคมได้เสมอ

เช่น เด็กวัด อย่างพลเอกเปรม ก็เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นรัฐบุรุษ ก็ได้เป็นต้น

หรือเช่น ลูกจีน อย่างไอ้หน้าเหลี่ยม ก็เป็นนายกรัฐมนตรีไทยได้ เป็นต้น

เพราะคนไทยเรายอมรับการเคลื่อนย้ายทางชนชั้นเสมอ ทุกคนมีโอกาสเลื่อนสถานะทางชนชั้น นี่เพราะได้รับอิทธิพลจากคำสอนในศาสนาพุทธนั่นเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กุศโลบายที่แฝงมาในศาสนาพุทธ เช่น กษัตริย์ต้องกราบไหว้ภิกษุพระที่เป็นลูกชาวบ้านก็ได้ เป็นต้น




หรือเมื่อกษัตริย์ทรงบรรพชาเป็นภิกษุ สถานะกษัตริย์ก็จะไม่มี จะต้องดำรงตามกฎแห่งสงฆ์ เช่น การออกบิณฑบาตรก็ต้องปฏิบัติเฉกเช่นที่ภิกษุรูปอื่นปฏิบัติ





---------------------

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 ก็เกิดมาจากลูกชาวบ้านธรรมดา ๆ

แม้จะมียศบรรดาศักดิ์ที่ทางโลกแต่งตั้งให้พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งสงฆ์ และยกย่องพระองค์ให้ทรงเป็นถึงประมุขแห่งคณะสงฆ์โลก

แต่ยศและบรรดาศักดิ์เหล่านั้น ไม่อาจทำให้สมเด็จพระญาณสังวรทรงยึดติดได้เลย

ถ้าใครเคยเห็นสมเด็จพระญาณสังวรพระองค์จริง เคยเห็นพระจริยวัตรของพระองค์ จะรู้สึกว่าพระองค์ทรงเป็นพระแท้ พระธรรมดารูปหนึ่งเท่านั้น

การที่ศาสนาพุทธในประเทศไทย พระสามารถมียศมีศักดิ์ ก็เป็นเพียงช่วยในการปกครองสงฆ์ของคณะสงฆ์ไทยให้มีระเบียบเท่านั้น

ส่วนพระผู้ที่ยังยึดติดลาภ ยศ สรรเสริญ ย่อมไม่ใช่พระแท้

พระแท้ต่อให้เป็นถึงสมเด็จพระสังฆราช ยศฐาบรรดาศักดิ์สงฆ์ก็เป็นเพียงมายาคติที่ผู้คนเขาสรรเสริญเทิดทูนให้เท่านั้นเอง

--------------

สรุปส่งท้าย

สิ่งที่เราอาจมองเห็นว่าไม่เท่าเทียมกันนั้น ก็เป็นผลมาจาก ผลของบุญและผลของบาป ที่สรรพชีวิตและสรรพวิญญาณใด ๆ ได้กระทำสั่งสมไว้

แต่ท้ายสุดแล้ว ความไม่เท่าเทียมกันที่เกิดจากผลของกรรม ก็คือความเท่าเทียมกันของกฎแห่งกรรม ในทางพุทธศาสนานั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




counter statistics