วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วิเคราะห์ทำไมศาลแพ่งตัดสินให้คงพรก.ฉุกเฉินไว้ แต่..
ที่จริงถ้าจะให้ดี ศาลแพ่งควรตัดสินให้ พรก.ฉุกเฉินถูกยกเลิกไปเลย ด้วยเหตุผลที่ว่า การเลือกตั้งยังไม่จบ การที่ออก พรก.ฉุกเฉิน ทำให้เกิดผลได้ผลเสียแก่พรรคการเมือง และเป็นประโยชน์ต่อพรรครัฐบาล
แต่ในเมื่อ ศาลแพ่ง ไม่ล้ม พรก.ฉุกเฉิน แต่กลับห้าม ศรส. กระทำการ 9 ข้อ จนเสมือน ศรส.เป็นง่อยไปนั้น มันกลับทำให้ไอ้พวกโง่ที่เคร่งแต่ตัวบทกฎหมายและไม่เข้าใจหลักรัฐศาสตร์ที่ศาลใช้ โจมตีศาลได้ว่า ศาลลำเอียง!!
ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนว่า กฏหมายรัฐธรรมนูญของไทยนั้นจะเน้นหลักรัฐศาสตร์มากกว่าตัวบทกฎหมายชนิดอื่น ๆ เพราะรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก และยังเกี่ยวข้องกับการเมืองมากอีกด้วย
ศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นศาลที่ทำงานยากที่สุด เพราะมีผลทางการเมืองและมีผลต่อคนจำนวนมาก แตกต่างจากคดีความทั่วไปที่มักเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล
เช่นเดียวกัน สิทธิในรัฐธรรมนูญจึงสำคัญกว่ากฎหมายอื่น ๆ ทั่วไป
เช่น รัฐธรรมนูญมาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
หากเรายึดกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมโดยสงบจริง ๆ แน่นอนว่า การชุมนุม กปปส. ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบอย่างแน่นอน เช่นมีการปิดถนน การปิดสถานที่ราชการ
เหมือนกรณีชาวนาชุมนุมก็มีปิดถนน ปิดกระทรวงพาณิชย์เช่นกัน แต่รัฐบาลกลับจะเลือกปฏิบัติเข้มงวดเรื่องกฎหมายกับ กปปส. เท่านั้น
สำหรับผม ผมมองในมุมเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ และศาลแพ่งมองก็คือ รัฐบาลที่กระทำผิดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา ย่อมไม่มีความชอบธรรมพอที่จะอ้างความชอบธรรมในการบังคับใช้กฎหมายเรื่องการชุมนุมโดยสงบ
เพราะการที่ กปปส. ออกมาอารยะขัดขืนกฎหมายนั้น ก็คือการแสดงออกว่าไม่ยอมรับรัฐบาลที่กระทำขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง รัฐบาลที่กล้าประกาศว่าไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
กรณีนี้ จึงเป็นการต่อสู้กับอำนาจรัฐด้วยการกระทำอารยะขัดขืน ขอฝ่าฝืนกฏหมายทุกอย่างที่รัฐบาลไร้ความชอบธรรมประกาศใช้
อย่างเช่น รัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ได้กล่าวหานายสุเทพเป็นกบฏ และปฏิบัติราวกับนายสุเทพเป็นกบฏไปแล้วจริงๆ ซึ่งก็ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 39 ที่เขียนว่า "ในคดีอาญาผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่า บุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้"
ยิ่งในช่วงแรก ๆ ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้กล่าวหานายสุเทพเป็นกบฏนั้น ศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยแล้วว่า การชุมนุมของ กปปส.ไม่ได้เข้าข่ายล้มล้างการปกครองแต่อย่างใด ซึ่งผมได้อธิบายไว้แล้วว่า นายสุเทพก็ย่อมไม่เข้าข่ายกบฏแน่นอน ตามบทความด้านล่าง
คลิกอ่าน เสื้อแดงโชว์โง่หยุดรัฐประหารต่อต้านกบฏ
ฉะนั้นประเด็นกฎหมายการชุมนุมโดยสงบ สำหรับผม ผมมองว่า จะใช้ได้กรณีที่อยู่ในช่วงรัฐบาลที่มีความชอบธรรมในสถานการณ์บ้านเมืองปกติเท่านั้น
ส่วนกรณี กปปส. กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ดูตามกฎหมายเป๊ะ ๆ ว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบก็ตาม แต่ผมถือว่า นี่คือการอารยะขัดขืนกฎหมายของประชาชนต่อรัฐบาลที่หมดความชอบธรรมไปแล้ว
แม้แต่ยุคมหาตมะคานธี อังกฤษก็สั่งห้ามชาวอินเดียชุมนุม และถือเป็นกฎหมาย
แต่คานธีก็ออกมาอารยะขัดขืนกฎหมายของอังกฤษไงครับ อังกฤษก็มองว่า มหาตมะ คานธี นำชาวอินเดียออกมาชุมนุมโดยไม่สงบเพราะฝ่าฝืนกฎหมายเช่นกัน
--------------
ที่ยูเครนก็เช่นเดียวกัน ประธานาธิบดียูเครนก็เคยออกกฎหมายห้ามการชุมนุม แต่ประชาชนก็ไม่ยอมเชื่อฟัง เข้าบุกยึดสถานที่ราชการหลายแห่ง จนตำรวจต้องเข้าไปปราบปรามจนมีคนบาดเจ็บล้มตาย
สุดท้ายนายกรัฐมนตรียูเครนต้องลาออก เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับประธานาธิบดี สุดท้ายประธานาธิบดีจึงต้องลดแรงกดดัน ด้วยการประกาศยกเลิกกฎหมายห้ามชุมนุม
------------
ประเด็น การชุมนุม กปปส. มีอาวุธ หรือไม่ ?
วันนี้ ศรส. ไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งว่า กปปส. ชุมนุมโดยมีอาวุธ
ศาลแพ่ง วินิจฉัยทันทีว่า ในเมื่อมีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ก็ไปใช้กฎหมายนั้นเป็นกรณี ๆ ไป
คุณผู้อ่านที่มีใจเที่ยงธรรมย่อมเข้าใจเจตนาของศาลแพ่งทันที เช่น ปิดถนน ก็ไปเล่นงานแกนนำที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร
หรือถ้าตรวจเจอใครพกอาวุธในที่สาธารณะก็เอาผิดการพกอาวุธในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นราย ๆ ไป
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ หลักการของ กปปส. คือ ชุมนุมปราศจากอาวุธแน่นอน
ส่วนที่ตำรวจไปค้นเจออาวุธ ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ชุมนุมมีอาวุธจริง ๆ เพราะนั่นอาจมองได้ 2 แง่คือ การใส่ร้ายหรือไม่ก็ได้
แต่หลักการใหญ่ ๆ ของผู้ชุมนุมคือ ปราศจากอาวุธ
ส่วนกรณีฮีโร่ป๊อปคอรร์นนั้น เราจะเห็นได้ชัดว่า ฝ่ายโกตี๋ไปบุกยิงผู้ชุมนุม กปปส. ก่อน และที่สำคัญมีคลิปที่ตำรวจยิงใส่ผู้ชุมนุมด้วย จนคณะกรรมการสิทธิ ฯ ฝากถามทางตำรวจให้ไปสืบสวนด้วยว่า ตำรวจที่ไปอยู่ฝั่งเดียวกับฝ่ายโกตี๋ ไปร่วมยิงประชาชน กปปส. ด้วยทำไม
กรณีแบบนี้ ถ้าผมเป็นศาล ผมย่อมยกประโยชน์ให้ฝ่าย กปปส. ครับ เพราะถ้าไม่มีฮีโร่ป๊อบคอร์น ป่านนี้ กปปส. ตายเป็นเบือเพราะฝืมือฝ่ายโกตี๋และตำรวจแน่นอน
หรือกรณีขอคืนพื้นที่ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ผมยืนยันได้เลยว่า มีแต่คลิปตำรวจปาระเบิดใส่ผู้ชุมนุม ที่ cnn บันทึกไว้ได้
ซึ่งกรณีตำรวจปาระเบิดใส่ผู้ชุมนุมที่ผ่านฟ้าลีลาศ ผมจะนำมาเขียนอธิบายโดยละเอียดอีกที
------------
แต่ที่สำคัญคือ รัฐบาลออก พรก.ฉุกเฉิน ถือเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแน่นอน
เพราะตอนที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศ พรก.ฉุกเฉินนั้น เราจะเห็นได้เลยว่า ช่วงนั้น มีแต่ ฝ่าย กปปส.เป็นฝ่ายถูกกระทำความรุนแรงจากอาวุธและระเบิดจากฝ่ายตรงข้ามเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น
การออก พรก.ฉุกเฉิน แม้เป็นอำนาจของฝ่ายบริหารก็ตาม แต่ศาลแพ่งกลับมองว่า เป็นอำนาจที่ไม่ค่อยจะชอบธรรมต่อประชาชนเท่าไหร่ครับ เช่นการห้ามชุนนุมเกิน 5 คน ก็เท่ากับริดรอนเสรีภาพในการชุมนุมแล้ว จึงได้สั่งห้าม ศรส. กระทำการ 9 ข้อไงครับ
เรื่องที่ผมอธิบายนี้ พวกนักกฎหมายเถรตรงยังไงๆ ก็ไม่มีทางเข้าใจที่ผมเขียนหรอกครับ แต่ผมเชื่อว่า แฟนบทความผมอ่านแล้วย่อมเข้าใจแน่นอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น