วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทเรียนประมูลคลื่น 4G คนไทยเลิกโง่เถอะ






การประมูล 4 จี ทั้งสองครั้งที่ผ่านมา ชี้ให้คนไทยหายโง่ 3 ประเด็น

1. ที่ผ่านมาผลประโยชน์ที่ค่ายมือถือเคยได้รับ มีหลายแสนล้าน แต่รัฐบาลยุคเลือกตั้งกลับหาผลประโยชน์เข้าประเทศได้นิดเดียว ทั้ง ๆ ที่ค่าโทรในอดีตแพงกว่าในยุค 4G หลายเท่า


2. การกำหนดเงื่อนไขการประมูลของ กสทช. คือตัวกำหนดมูลค่าการประมูลว่าจะถูกหรือแพง และเงื่อนไขการประมูลยังสามารถป้องกันการฮั้วประมูลได้ด้วย

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลในขณะนั้นด้วยว่า เห็นแก่ผลประโยชน์ของชาติมากกว่าผลประโยชน์ทับซ้อนของพวกพ้องตัวเองแค่ไหน เพื่อจะได้ควบคุมการทำงานของ กสทช. ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เข้าทำนองสำนวนที่ว่า "ถ้าหัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก"


3. รัฐบาลเผด็จการช่วยปกป้องและรักษาผลประโยชน์ให้ชาติได้มากกว่า 2 แสนล้านบาท นำเงินตรงนี้มาพัฒนาประเทศได้อีกมาก

สรุป รัฐบาลจะมาจากหนทางไหนก็ไม่สำคัญเท่าขอให้ทำเพื่อประเทศชาติจริง ๆ ก็พอ

เฉกเช่น วจีอมตะของเติ้งเสี่ยวผิง แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้ก็พอ


------------------------




ถ้าดูจากตัวเลขคลื่น ณ ขณะนี้ ทรู กับ ดีแทค จะมีสัญญาณเสถียรที่สุด เพราะมือถือรุ่นใหม่ ๆ จะมีระบบแบ่งแยกคลื่นทุกคลื่นในเวลาเดียวกับแบบเรียลไทม์

เช่น ถ้ามีคลื่นอยู่หลายคลื่น ตัวสมาร์ทโฟนและระบบเครือข่าย สามารถกระจายข้อมูลเฉลี่ยไปในคลื่นที่แตกต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ได้สัญญาณที่ไวและเสถียรที่สุด

ปัญหาคือ ดีแทคจะหมดอายุสัมปทานก่อนใคร ๆ เพราะการประมูลใหม่ไม่ได้มีอยู่ในมือนี่แหละ

ส่วนทรู แม้มีคลื่นมากที่สุด แต่ต้นทุนก็แพงขึ้น กำไรเลยน้อยลง ฉะนั้นถ้าทรูขายซิมใหม่ได้ช้า ก็ยิ่งกำไรน้อยลง แต่ยังไงก็มีกำไร เพราะอนาคตร่วม 20 ปี สมาร์ทโฟนจะพัฒนามากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่า อัตราการใช้จึงมีแต่เพิ่มขึ้นไม่มีลดลง เพราะผู้คนจำนวนมากขึ้น การติดต่อสื่อสารก็มากขึ้น แถมค่าเงินในอนาคตก็ยิ่งลดลง สัมปทานแสนล้านที่ทรูต้องจ่าย จึงไม่ได้มากเกินไป

ส่วนเอไอเอส น่าผิดหวังที่สุด เพราะมีโครงข่ายเดิมเป็นคลื่น 900 อยู่แล้ว ถ้าได้สัมปทาน ก็แทบไม่ต้องลงทุนเพิ่มเสาสัญญาณและระบบเท่าไหร่นัก ถือว่า มีต้นทุนด้านเครือข่ายน้อยที่สุด แต่ดันพลาดได้ ผมคิดว่า ผู้บริหารเอไอเอสใจเสาะไปหน่อย แต่ก็อย่างว่า คู่แข่งอย่างทรู เขาสายป่านยาวในหลายธุรกิจจนครบวงจร ทรูสามารถใช้ธูรกิจอื่น ๆ นำมาช่วยซัพพอร์ตเครือข่ายมือถือและค้ำจุนอนาคตบริษัทได้ดีกว่า  มั่นคงกว่าเจ้าอื่น ๆ

ส่วนJas หรือ จัสมิน ผู้ชนะคลื่น 900 แสดงว่า มีทุนจากต่างชาติมาช่วยจำนวนมหาศาลแน่นอน ข่าวว่าเป็นนายทุนค่ายมือถือจากเกาหลีใต้ ถึงได้กล้าท้าชนเจ้าตลาดเดิมทั้งสามเจ้า

แต่ข้อเสียเปรียบของจัสมินคือ ยังไม่มีลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ในมือเลย (จะมีก็แต่ลูกค้าในบริการอินเตอร์เน็ต 3BB) แถมไม่มีเสาสัญญาณโครงข่ายอีกด้วย คือต้องลงทุนวางระบบใหม่ทั้งหมดน่าจะไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาทเป็นอย่างน้อย และต้องทำให้เร็วที่สุดเพื่อรองรับฐานลูกค้า หากไม่รีบครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็วความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้แจสต้นทุนจะแพงกว่าเจ้าอื่น ๆ แน่นอน

(ดังนั้นคาดการณ์ว่า ในอนาคตแจสอาจจะร่วมมือหรือร่วมทุนกับ dtac ก็เป็นได้เพื่อความมั่นคงและเพื่อการต่อสู้ยืนหยัดในตลาดต่อไป)


การประมูล 4 จีของไทยในคลื่น 900 นั้น แพงเป็นอันดับสองของโลกรองจากฮ่องกง เหตุคนไทยบ้าโซเชียลมากที่สุดในโลกก็เงี้ย

ถึงยังไง นายทุนเขาก็รวยอยู่ดี เพราะคนไทยอดโซเชียลผ่านมือถือไม่ได้ กิเลสคนไทยเยอะ ต้องแชท ต้องคุยทั้งวัน ประโยชน์จากการออนไลน์ของคนไทย จึงได้น้อยกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น

หมายถึง มูลค่าสัมปทานเครือข่ายมือถือแพงที่สุดในโลก แต่มูลค่ารายได้ที่คนไทยสร้างได้จากการใช้สมาร์ทโฟนกลับได้น้อยมาก เพราะคนไทยใช้เพื่อสนองกิเลสมากกว่าใช้เพื่อสร้างรายได้

ซึ่งต่างจากพวกฝรั่ง เขาไม่บ้าแชทเท่าคนไทย ค่าโทร ค่าเน็ตของฝรั่งเลยถูกกว่าไทย

ขนาดเวียดนาม 4 จี แบบไม่จำกัด เดือนละประมาณ 150 บาทเอง

เชื่อไหม คนไทยเราเจริญแต่เปลือก ขี้อวด ขี้แชท เลยถูกพวกนายทุนเอาเปรียบได้ง่าย ๆ ด้วยค่าโทรที่แพงกว่า เน็ตแพงกว่า แต่คุณภาพกลับห่วยกว่าทุกชาติในอาเซียน

----------------------

เพิ่มเติม ทำไม Jas ต้องลุยประมูลคลื่น 900

สาเหตุเพราะ Jas ทำ 3BB แต่โดนคู่แข่งอย่าง ทรู และ AIS ลงมาแย่งตลาดอินเตอร์เน็ตบ้าน แถมพ่วงแพคเกจมือถือ เบอร์บ้าน อินเตอร์เน็ต เคเบิลทีวี WIFI เข้าไปด้วย (แถมทรูมีช่องทางจำหน่ายเพื่อจัดโปรแถมซิม หรือแลกซื้อซิมที่เซเว่นบ่อย ๆ )

ทำให้ 3 BB กำลังอยู่ในจุดเสียเปรียบในการแข่งขัน เลยต้องประมูลคลื่น 900 เพื่อให้มีธุรกิจครบวงจรมากขึ้น เพื่อการต่อสู้ในตลาดครับ

สรุป คือ สถานการณ์มันบีบให้ Jas ต้องสู้

โดยส่วนตัวผม คิดว่า AIS ถอยออกมาคุมเชิงก่อน เอาเงินที่ประหยัดตรงคลื่น 900 ไปพัฒนาอย่างอื่นก่อนได้ แล้วรอดูสถานการณ์ตลาดในช่วง 3 ปีของคู่แข่งไปก่อน ทั้งทรู และ แจส

แล้วก็รออีก 3 ปี คลื่นในมือ DTAC จะหมดอายุต้องนำมาประมูลใหม่ AIS คงกะลุยยกนั้นอีกที

อีก 3 ปี ดีแทคเหลือคลื่นในมือคลื่นเดียว


แต่ก็นั่นแหละ การปล่อยเสือรายเก่าอย่างทรู และเสือรายใหม่อย่างแจส ได้เข้าป่าไปตะครุบเหยื่อ บางทีมันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่ AIS คาดคิดเหมือนครั้งนี้ได้อีก

พอไม่มีอำนาจการเมืองหนุนหลัง AIS ก็ไม่ได้เป็นยักษ์ใหญ่ที่น่าเกรงขามเหมือนในอดีตแล้ว ที่ผ่านมาที่ยิ่งใหญ่ร่ำรวยมหาศาลมาได้ เพราะอะไรก็รู้ ๆ กันอยู่

คลิกอ่าน ไขข้อข้องใจหลังการประมูลคลื่น 900 4G ไทย
คลิกอ่าน 3จีไทยตำกว่ามาตรฐานโลก 6 เท่า แถมห่วยกว่าเขมร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




counter statistics