การหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ทุกคนล้วนนิยมใช้
ก่อนจะนำหม้อข้าวไปเสียบไฟ ในขั้นตอนใส่น้ำ ให้เหยาะน้ำส้มสายชูลงไปนิดหน่อย
น้ำส้มสายชูจะช่วยให้ข้าวหุงขึ้นหม้อ มดก็จะไม่ค่อยอยากขึ้น แถมข้าวจะบูดยาก
เพราะความเป็นกรดของน้ำส้มที่อยู่ในน้ำขณะเวลาหุงข้าว จะช่วยฆ่าแบคทีเรียตายยากชนิดหนึ่งที่ตกค้างในหม้อข้าว ที่ปกติมันจะตายที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียสขึ้นไป ก็กลับตายได้ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสเท่านั้นเมื่อเติมน้ำส้มสายชูในหม้อข้าว
ผมใช้วิธีนี้มาไม่ต่ำกว่า 15 ปีมาแล้ว
และถ้าหม้อข้าวไม่ได้มีระบบอุ่นไว้ตลอดเวลาประเภทหม้ออุ่นทิพย์ ถ้าหม้อข้าวยังตั้งอยู่ในสภาวะอุณหภูมิห้องปกตินั้น ก็ให้หมั่นเปิดฝาหม้อ และเช็ดน้ำที่ค้างใต้ฝาหม้ออย่างสม่ำเสมอ
เพราะความชื้นและการปิดฝาหม้อข้าวอย่างสนิทจะทำให้ไม่มีทางระบายอากาศ ก็จะทำให้ข้าวบูดได้ง่ายครับ
ที่สำคัญอีกอย่างคือ ควรคลุกข้าวในหม้อให้ร่วน หรือที่เรียกว่า ซุยข้าว ก็เพื่อจะได้มีโพรงอากาศระหว่างเมล็ดข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวในส่วนที่ติดก้นหม้อควรคลุกให้ขึ้นมาด้านบน เพื่อจะได้ระบายอากาศได้ดีขึ้น ข้าวก็จะไม่เสียง่าย เนื่องจากตรงก้นหม้อจะอับที่สุด
สำหรับบ้านผมถ้ามีข้าวเหลือ ก็นำเข้าตู้เย็น แล้วถ้าจะกินก็นำมาอุ่นด้วยไมโครเวฟอีกที
ซึ่งการอุ่นด้วยไมโครเวฟ ถ้าเห็นว่าข้าวแห้งเกินไป ก็ตักข้าวใส่ภาชนะที่มีฝาปิด ที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ แล้วเหยาะน้ำเปล่าลงไปในข้าวสักนิดหน่อย แล้วค่อยเวฟให้ร้อนมากหน่อย หมายถึงใช้เวลานานขึ้นกว่าปกติ ข้าวก็จะนุ่มเหมือนเดิม
แต่พออุ่นเสร็จอย่าเพิ่งรีบเปิดฝานะครับ รอสักพักค่อยเปิดฝา ข้าวจะได้นุ่มนาน
---------------
หม้อหุงข้าวแบบใด หุงข้าวได้อร่อยที่สุด
อันดับ 1 คือหม้อแบบอุ่นทิพย์ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จะหุงข้าวได้อร่อยที่สุด แต่ราคาแพงที่สุด
อันดับ 2 หม้ออุ่นทิพย์แบบธรรมดา อร่อยรองลงมา
อันดับ 3 หม้อหุงขาวไฟฟ้าแบบเดิม ๆ หุงได้ประหยัดไฟที่สุด อร่อยแบบดั้งเดิม บ้านผมก็ใช้หม้อธรรมดาดั้งเดิมแบบนี้แหละครับ
พอใจในความอร่อยแบบปกติ ไม่อยากอร่อยมากเกินพอดี
แต่ความจริงแล้ว ผมไม่แนะนำให้อุ่นข้าวในหม้อไว้ตลอดเวลา เพราะเปลืองไฟครับ
คลิกอ่าน มหัศจรรย์ผงฟู ประโยชน์มากมายที่คุณอาจไม่รู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น