วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทำไม ปรส.ไม่แยกหนี้ดีหนี้เสีย และความโง่ของโอ๊ค






พวกโง่ ๆ ทั้งหลายที่มีโอ๊ค พานทองแท้ เป็นแกนนำพยายามจะโจมตีพรรคประชาธิปัตย์เรื่อง ปรส. ตามนี้



อยากจะโจมตีประชาธิปัตย์ ก็ทำไปครับ ผมไม่ติดใจอะไร แต่ถ้าบิดเบือนเพื่อใส่ร้ายนี่สิ ลูกผู้ชายมีคุณธรรมไม่พึงกระทำ

แต่เผอิญโอ๊ค มันไม่ใช่ลูกผู้ชายแถมไร้คุณธรรมด้วยไง มันเลยชอบสร้างเรื่องเท็จเพื่อโจมตีใส่ร้ายคนอื่น

บทความนี้ผมจะไม่อธิบายอะไรให้ยาวนะครับ ผมเอาเฉพาะประเด็นหลัก ๆ 2 ประเด็นเท่านั้นคือ

เรื่องแรกคือ เรื่องที่รัฐบาลชวน แต่งตั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ปรส. คนที่ 2 แทนนายธวัชชัย ยงกิตติกุล ประธาน ปรส. คนแรกที่แต่งตั้งจากรัฐบาลชวลิต ก่อนที่รัฐบาลชวลิตจะลาออก

ประเด็นนี้ โอ๊ค พยายามใช้สันดานเลวเหมือนคนที่คุณรู้ว่าใคร เขียนใส่ร้ายให้คนอ่านตีความไปทำนองว่า รัฐบาลชวนปลดนายธวัชชัน ยงกิตติกุล ประธาน ปรส. คนแรกออกไป เพื่อรัฐบาลชวนจะได้แต่งตั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อน เข้ามาแทน

นี่คือ การบิดเบือนใส่ร้ายอย่างหน้าด้าน ๆ สมกับการเป็นโอ๊ค พานทองแท้ จริง ๆ เพราะความจริงที่ถูกต้องคือ นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ประธาน ปรส. คนแรก ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเอง

ในเมื่อประธาน ปรส. ลาออกเอง มันก็จำเป็นต้องแต่งตั้งประธาน ปรส. คนใหม่ขึ้นมาแทน ถ้าจะโทษก็ต้องโทษรัฐบาลชวลิตนั่นแหละ ดันแต่งตั้งคนที่เขาไม่อยากทำงานให้มาทำงานเอง

แล้วการที่รัฐบาลชวน แต่งตั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธาน ปรส. นั้น หากนายอมเรศ กระทำผิดใด ๆ เช่นเอื้อประโยชน์ต่างชาติ หรือช่วยไม่ให้ต่างชาติเลี่ยงภาษี ก็ต้องฟ้องร้องเอาผิดที่นายอมเรศ และคณะกรรมการ ปรส. ที่เกี่ยวข้อง 

เพราะ ปรส. เป็นองค์กรอิสระ รัฐบาลและนักการเมืองไม่มีอำนาจแทรกแซงการทำงานได้ เพราะมีกฎหมายควบคุมอยู่ ซึ่งรัฐบาลชวลิตก็เป็นคนออก พรก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 เอง เรื่องนี้เป็นไปตามที่ไอเอ็มเอฟกำหนดมา เพราะกลัวนักการเมือง(แบบชวลิต ทักษิณ) จะแทรกแซง ปรส. จนทำให้ไทยพังซ้ำอีกรอบ

ส่วนเรื่องการเกิดขึ้นของคณะกรรมการ ปรส. ชุด 2 นั้น อันนี้ผมไม่มีรายละเอียดว่า ทำไมจึงเกิดชุด  2 ขึันมาแทน แต่ถ้าหากคณะกรรมการ ปรส. ชุดแรก เกิดลาออกเอง ก็ช่วยไม่ได้

เพราะแม้รัฐมนตรีกระทรวงการคลังจะมีอำนาจปลดคณะกรรมการ ปรส. ได้แต่ก็ต้องมีเหตุผลที่สมควรเช่น บกพร่องต่อหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งกำหนดอำนาจนี้ไว้ในมาตรา 14 พรก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540

ซึ่งถ้านายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รมว.คลังในตอนนั้น เคยปลดคณะกรรมการปรส.ชุดแรก โอ๊คก็ควรเอาหลักฐานมาเปิดเผยด้วย ไม่ควรพูดลอย ๆ ให้คนเข้าใจไปว่า รัฐบาลชวนปลดคณะกรรมการ ปรส. ชุดแรก เพื่อจะแต่งตั้งชุดที่ 2 แทน เช่น โอ๊คควรยกตัวอย่างว่าคณะกรรมการชุดแรกมีใครบ้าง และคณะกรรมการชุด 2 มีใครบ้าง ไม่ใช่แค่เปลี่ยนตัวนายอมเรศ ศิลาอ่อนคนเดียว ก็เลยเหมาว่า นี่คือคณะกรรมการ ปรส.ชุด 2  (ถ้าโอ๊คแน่จริงเอาออกข้อมูลแฉมา

ส่วนการแต่งตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาใหม่นั้น ก็มีกำหนดไว้ใน พรก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 มาตรา 11 และมาตรา 12 ไม่ใช่นึกอยากแต่งตั้งใครก็ทำได้โดยไม่มีขื่อมีแป

ดูมาตรา 11 12 13 14 พรก.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 เรื่องการแต่งตั้ง และการพ้นวาระของคณะกรรมการ ปรส.

คลิกที่รูปเพื่อขยาย


-----------------

ประเด็นเรื่อง ไม่แยกหนี้ดี ออกจากหนี้เสีย

มีวาทกรรมที่ใช้กันมานานของพวกขี้ข้าทักษิณ โดยเฉพาะนายสมัคร สุนทรเวชชอบยกมาอ้างประจำ คือ เรื่อง ปรส. ไม่แยกหนี้ดีออกจากหนี้เสีย ทำให้ขายทรัพย์สมบัติชาติขาดทุน 8 แสนล้าน ตอนหลังพวกนี้เริ่มหายโง่กลับมาที่ตัวเลข 6 แสนล้านแทน

เรื่องนี้อธิบายง่าย ๆ ได้เลยครับว่า มันยากที่จะแยกออกจากกัน

ขอตัวอย่างเช่น การปล่อยกู้ 5ล้านบาท ให้กับที่ดินค้ำประกันเงินกู้ที่มีมูลค่าแค่ 5 แสนบาท 

กรณีการปล่อยกู้ให้ที่ดินมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริงหรือถูกปั่นจนราคาสูงเกินความเป็นจริงจากกระแสการเก็งกำไรแบบนี้ เราจะแยกได้เป็นหนี้ดีมูลค่าไม่เกิน 5 แสนบาท แต่จะมีหนี้เสียมูลค่าอย่างน้อย 4.5 ล้านบาท เพราะต้องบวกดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย มันจึงมีทั้งหนี้ดีและหนี้เสียในที่ดินแปลงเดียวกัน

พอจะมองภาพออกไหมครับว่า การแยกหนี้ดีกับหนี้เสีย มันยากที่จะแยกออกจากกัน เพราะสินทรัพย์จำนวนมากมันเป็นสินทรัพย์ตัวเดียวกัน เป็นต้น

ซึ่งมีทรัพย์สินทำนองเดียวกันกับที่ผมยกตัวอย่างมากมายนับหมื่นนับแสนรายการ ในสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง

การที่ขายทรัพย์สินที่รวมทั้งหนี้ดีและหนี้เสีย จึงเป็นเรื่องเหมาะสมกว่ามานั่งแยกหนี้ดีกับหนี้เสีย เพราะการแยกหนี้หนี้เสียจะทำให้เสียงบประมาณ เสียเวลา และใช้บุคลากรจำนวนมาก แถมเวลาขายอาจทำให้ขายยากและเสี่ยงที่จะได้ทรัพย์สินต่ำกว่าการไม่แยกหนี้ดีกับหนี้เสียอีกด้วย ซึ่งคณะกรรมการ ปรส.พิจารณาแล้วว่า มันไม่คุ้ม

ที่สำคัญทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง เป็นหนี้เสียที่เกิดจากการปั่นราคาในการปล่อยกู้แบบชุ่ย ๆ มากกว่า 75 %

ดังนั้น การที่ขายสินทรัพย์ที่มีทั้งหนี้เน่าและหนี้ดีมูลค่า 8 แสนล้าน ได้มา 1.9 แสนล้านบาทนั้น สำหรับผม ผมมองว่า ก็ดูเหมาะสมแล้ว

การสร้างวาทะกรรมเท็จว่า ทำชาติเสียหาย 6 แสนล้านที่โอ๊คโพสในตอนหลังนี้ จึงเป็นวาทะกรรมโง่ ๆ ไว้หลอกคนที่ไม่รู้เรื่องอย่างหน้าด้าน ๆ สมกับความเป็นโอ๊ค

การขายหนี้เน่าส่วนใหญ่ แต่จะให้ได้ราคาเท่าเดิม คือวาทะกรรมเท็จที่ไว้หลอกคนโง่อย่างเสื้อแดงเท่านั้น

ส่วนคนที่ยังถูกดำเนินคดีว่ามีความผิดอาญาในคดี ปรส. นี้ ตอนนี้เท่าที่ทราบเหลือคนเดียวคือ นายมนตรี เจนวิทย์การ เลขา ปรส. เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน ซึ่งเป็นบริษัทของภรรยาพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์

----------------

ขอฝากข้อเขียนของคุณหมอวรงค์ เดชกิจวิกรม ที่เขียนถึงโอ๊คในท้ายบทความว่า

"ผมไม่รู้ว่า โอ๊ค ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ หรือคนที่พิมพ์ข้อความให้"โอ๊ค"ตั้งใจให้"โอ๊ค"หน้าแตก เพราะปปช.เขาแถลงตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย.2557 แล้วว่าคดี ปรส.ไม่เหลือติดค้าง ป.ป.ช.แล้ว 

ป.ป.ช.เขาแถลงว่า คดีที่ร้องป.ป.ช.มี6 คดี ยกคำร้องเพราะไม่มีมูล 3 คดี อีก 1 คดีต้องยุติเพราะอยู่ในการพิจารณาคดีของศาล และอีก 2 คดีส่งต่ออัยการและร้องต่อศาลแล้ว"


คลิกอ่าน โอ๊คโชว์โง่คดี ปรส. และอวยจำนำข้าวอย่างหน้าด้าน


2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ15 ธันวาคม 2557 เวลา 12:47

    ข้อความไหนที่ทำให้ ตีความได้ว่า โอ้คทำให้เชื่อว่า ประธาน ปรส.คนแรก โดนปลดโดย ปชป.ครับ บทความแบบนี้เหมือนตีขลุม คลุมเครือ ก็เหมือนตีความได้ว่าเอาเองตั้งแต่แรกมั้ยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. แสดงว่า คุณอ่านที่โอ๊คเขียนไม่แต่กสิครับ
      โอ๊ค บอกชวลิต ตั้ง คณะกรรมการ ปรส. ขึ้นมา โดยมีนายธวัชชัย เป็นประธาน

      แล้วโอ๊ค ก็เขียนว่า พอชวน เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ตั้งคณะกรรมการ ปรส. ชุด 2 ขึ้นมาแทน โดยมีนายอมเรศ เป็นประธาน

      เพียงแค่นี้คุณยังอ่านไม่แตกเหรอครับ ?

      แบบนี้เขาเรียกว่า เขียนแบบบอกความจริงไม่หมด เจตนาทำให้คนตีความผิดได้ ว่า ประธานคนเก่าหายไปไหน ทำไมชวนตั้งอมเรศขึ้นมาแทน

      แม้โอ๊ค จะไม่ได้เขียนตรง ๆ แต่สามารถแปลเจตนาได้ครับ นี่แหละที่เขาเรียก บอกความจริงครึ่งเดียว

      กะอีแค่เขียนว่า ประธานคนเก่า นาย ธวัชชัย ลาออกเอง ทำไมจะเขียนไว้ไม่ได้ ??

      ลบ




counter statistics