วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เมื่อไหร่ทางด่วนขั้นที่ 1 จะได้ขึ้นฟรีสักที ?






เอ.. ผมเคยจำได้ว่า ทางด่วนเฉลิมมหานคร หรือ ทางด่วนขั้นที่ 1 ดินแดง ดาวคะนอง  ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2524 หรือเริ่มเปิดใช้ในประมาณปี 2525 นี่แหละ ถ้าผมจำไม่ผิด เมื่อครบสัญญา 30 ปี ก็ต้องคืนเส้นทางนี้ให้คนไทย ใช้ฟรี หรือเป็นของหลวง 100 %

จากปี 2525 มาถึงปี 2557 มันเลย 30 ปีมาแล้วนะครับ และที่ได้ชื่อว่า ทางด่วนเฉลิมมหานคร ก็เพราะตรงกับปีที่กรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปีพอดี ในปี พ.ศ. 2525

เพราะทางด่วนขั้นที่ 1 รัฐบาลลงทุนเอง แต่ต้องไปกู้เงินส่วนหนึ่งมาใช้ในการก่อสร้าง

ดังนั้นทางด่วนขั้นที่ 1 มันเริ่มต้นจากเงินคนไทย ที่ดินก็ของคนไทย  แต่รัฐต้องจัดเก็บค่าทางด่วนเพื่อจ่ายเงินคืนเงินกู้ ที่รัฐไปกู้มา

แล้วเมื่อพอคุ้มทุนแล้ว ครบระยะเวลา 30 ปีแล้ว รัฐจ่ายเงินกู้หมดแล้ว ทางด่วนขั้นที่ 1 ก็ควรจะจัดเก็บในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อตอบแทนแก่คนไทยเจ้าของประเทศ จริงหรือไม่?

แต่แล้วก็เหมือนเรื่องนี้ก็หายไปเลย อยากให้ คสช. ช่วยตรวจสอบด้วย

เพราะปกติ เมื่อทางด่วนขั้นที่ 1 คุ้มทุนแล้ว ถ้าจะเก็บเงินต่อไป ก็ต้องเป็นสิทธิของรัฐบาล 100 % เป็นของกระทรวงคมนาคม 100 %

ทางด่วนขั้นที่ 1 ไม่ใช่ยังเป็นของรัฐวิสาหกิจอย่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทยอีก

ฉะนั้นค่าทางด่วนขั้นที่ 1 ต้องถูกลง !!

แต่ถ้าให้ดีที่สุด มันควรให้ทางด่วนขั้นที่ 1 ฟรี ครับ ขึ้นฟรี

หรือถ้าไม่ให้ขึ้นฟรี ก็เก็บให้ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผมว่า ถ้าในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ก็น่าจะไม่เกิน 20 ปีต่อคันต่อครั้ง

-------------

จากข้อมูลการทางพิเศษแห่งประเทศไทยระบุว่า

๑.) สายดินแดง-ท่าเรือ  ๘.๙ กม. เริ่มเปิดใช้เมื่อ ๒๙ ต.ค. ๒๕๒๔
         
๒.) สายบางนา-ท่าเรือ  ๗.๙ กม. เริ่มเปิดใช้เมื่อ ๑๗ ม.ค. ๒๕๒๖

ทางด่วน 2 สายแรกของไทย อายุครบสัญญาสัมปทาน 30 ปี ไปแล้ว

๓.) สายดาวคะนอง-ท่าเรือ  ๑๐.๓๐ กม. เริ่มเปิดใช้เมื่อ ๕ ธ.ค. ๒๕๓๐

----------

ทำไมราคาทางด่วนขั้นที่ 1 ควรเก็บแค่ 20 บาท

ผมจำได้ว่า ตอนเด็กๆ ที่ได้มีโอกาสขึ้นทางด่วนขั้นที่ 1 ครั้งแรก ค่าผ่านทางเก็บรถยนต์ 4 ล้อเล็ก แค่ 10 บาทเท่านั้นเอง

จากปี พ.ศ. 2525 ค่าผ่านทางด่วนแค่ 10 บาท ก็กลายเป็น 50 บาทแล้วในวันนี้ในปี 2557

30 กว่าปีผ่านไป ราคาค่าทางด่วนขั้นที่ 1 เพิ่มขึ้น 5 เท่า

ในปี พ.ศ. 2525 ค่าแรงขั้นต่ำ 61 บาทต่อวัน
ในปี พ.ศ. 2557 ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน

สรุปก็คือ ถ้าดูเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำในปี 2525 เทียบกับปี 2557 อาจมองว่า ค่าทางด่วน 50 บาท ก็ดูเหมาะสมดีแล้ว ไม่ใช่เหรอ ?

แต่ถ้าเรามองในความเป็นจริงอีกด้านก็คือ ถ้าตอนนี้ทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นของรัฐ 100 % แล้ว หรือเป็นของแผ่นดิน 100 % ไปแล้ว

ค่าทางด่วนมันควรจะถูกลงกว่าเดิม ไม่ใช่ยังคิดแพงเหมือนเดิม คือยังคิดค่าผ่านทาง ในราคาถึง 1 ใน 5 จากค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบัน

ผมว่า ทางด่วนขั้นที่ 1 โดยเฉพาะใน 2 สายแรก คือ สาย ดินแดง-ท่าเรือ และ สาย บางนา-ท่าเรือ ควรเก็บค่าผ่านทางเกิน 20 บาทนั่นแหละ ดีที่สุด เพราะมันเป็นของประชาชนแล้วไม่ใช่เหรอ ?

และเมื่อทางด่วนขั้นที่ 1 สายที่ 3 คือ สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ครบสัญญา 30 ปี ในพ.ศ. 2560 สายนี้ก็ต้องจัดเก็บค่าผ่านทางถูกลงให้เท่ากับ 2 สายแรก


อัตราค่าผ่านทางด่วนขั้นที่ 1 ในปี 2557




ต่อมาผมได้ส่งข้อความไปถามเพจ การทางพิเศษแห่งประเทศ แล้ว

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2557 ผมได้ส่งข้อความไปถามเพจการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตามนี้



ผมก็รออยู่หลายวันแล้วว่า เมื่อไหร่เขาจะมาตอบในสิ่งที่ผมสงสัย เพราะถ้าไม่มาตอบ

ผมขออนุมานไปเลยว่า การทางพิเศษกำลังปกปิดความจริงหรือกำลังหมกเม็ดเรื่องทรัพย์สินของคนไทย

หรือว่า คนไทยเราจะโดนโกงสมบัติของชาติไปซะทุกเรื่องนะ ?

---------------------

อัพเดทล่าสุด 

เพจการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ก็เพื่งจะตอบกลับมาผมอีกครั้ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 ตามนี้






เขาตอบไม่ตรงคำถามของผม !!
เพราะผมถามเฉพาะทางด่วนขั้นที่ 1 เท่านั้น แต่การทางพิเศษตอบไม่ตรงคำถาม แถมโบ้ยว่า ได้ทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์กับบริษัททางด่วนกรุงเทพฯ จำกัด

ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 57 ผมเคยเขียนไปถามเพจของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด ไว้ก่อนแล้ว ตามนี้



ทางด่วนขั้นที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ บ.ทางด่วนกรุงเทพ จำกัดแต่อย่างใด

การทางพิเศษแห่งประเทศ ช่วยตอบกลับผมอีกทีนะครับ ผมจะรอ

---------------

แถมท้ายด้วยความเห็นของ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ที่โพสใน เพจ ชูวิทย์ NO.5 กรณีการปรับขึ้าค่าทางด่วนทุกขั้น เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2556 ไว้ว่า

"...เมื่อไหร่จะเลิกโง่เสียที?

วันนี้ รมว.กระทรวงคมนาคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ชี้แจงในเฟสบุ๊คกรณีขึ้น "ค่าทางด่วน" โดยบอกว่า ทางด่วนขั้นที่ 1 รัฐลงทุนเอง และขั้นที่ 2 เอกชนลงทุน ส่วนที่เอกชนลงทุนนั้น มีสัญญาว่า จะต้องปรับราคาทุก 5 ปี ครบกำหนด 1 กันยายน 2556 นี้

ท่านบอกอีกว่า "ถึงรัฐบาลต้องการตรึงราคาเท่าใด ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะมีข้อผูกพันด้านสัญญา เช่นเดียวกันกับ BTS และ รถไฟใต้ดิน ที่ไม่สามารถควบคุมค่าโดยสารได้ เพราะต้องทำตามสัญญา"

ดูเอาเถอะครับ ว่าเรามี "กระทรวงคมนาคม" ไว้ทำไม?

เมื่อโครงการใหญ่ๆทุกโครงการ มักจะทำแบบ "คนละครึ่งทาง" ทางด่วนมี 2 ขั้น ขั้นที่ 1 รัฐลงทุนเอง แต่พอถึงขั้นที่ 2 ดันให้เอกชนลงทุน ในเมื่อทำเองได้ตั้งแต่ขั้นที่ 1 แล้วทำไมขั้นที่ 2 ต้องไปให้เอกชนทำ?

เมื่อเอกชนเห็นว่ามีกำไรชัดๆ เลย "ยืมมือ" รัฐ สานต่อในขั้นที่ 2 เป็นเรื่อง "โง่" ของรัฐเอง ที่ดันไปให้เอกชนทำแล้วระบุในสัญญา "น้ำท่วมปาก" ตอบกันแบบ "กำปั้นทุบดิน" ไม่น่าจะเป็นระดับ "รองศาสตราจารย์" อย่างนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พูด

การไปยก "ข้ออ้าง" ว่ารัฐบาลในอดีตทำสัญญา แล้วรัฐบาลปัจจุบันไม่แก้ไข จะมีรัฐบาลไปทำไม?

หรือจะ "โบ้ย" อยู่อย่างเดียวว่าระบุในสัญญา อย่างนี้จะมี รมว.คมนาคม ไปทำไม?"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น




counter statistics