ตอนนี้ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลพยายามกล่าวอ้างว่า การใช้มาตรา 7 เป็นเรื่องไม่บังควร เพราะในหลวงทรงเคยมีพระราชดำรัสเมื่อปี 2549 ว่า ไม่ทรงต้องการให้ใช้ เพราะไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น
พวกฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลได้กล่าวอ้างที่บิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะมันต่างกรรมต่างวาระ
เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองในวันนั้น คือเมื่อปี 2549 กับในวันนี้ ปี 2557 มีความแตกต่างกัน คือ
ในปี 2549 หลังจากทักษิณยุบสภาแล้ว ได้มีกลุ่มประชาชนต่อต้านในนาม พันธมิตรต่อต้านทักษิณอย่างมาก แม้ไอ้หมอเหวง นายเสนาะ เทียนทอง และนายนิติภูมิ นวรัตน์ ก็ออกมาต่อต้านทักษิณร่วมกับพันธมิตรด้วย
ตอนนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงได้เสนอแนะให้ ทักษิณ ชินวัตร ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐบาลในขณะนั้น ลาออกทั้งคณะ แล้วให้ทักษิณไปทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานจากในหลวง โดยอาศัยมาตรา 7
ซึ่งในช่วงเดียวกันนั้น ในวันที่ 5 มีนาคม 2549 ก็ได้มีกลุ่มการเมืองเช่น นักวิชาการ นักการเมือง ประชาชนบางส่วน ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มพันธมิตร ได้ไปถวายฎีกาทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานจากในหลวง ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นทักษิณยังดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีอยู่ ยังไม่ได้ลาออกจากตำแหน่ง ไม่ได้เป็นช่วงสุญญากาศทางการเมืองแต่อย่างใด
ซึ่งเท่ากับว่า เป็นทูลเกล้าถวายฎีกาขอนายกพระราชทาน ทั้ง ๆ ที่ยังมีรักษาการนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 40 อยู่
ฎีกาฉบับดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่ไม่บังควร เพราะถือเป็นการถวายฎีกาที่ข้ามขั้นตอนที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ 2540
และที่สำคัญ ฎีกาฉบับดังกล่าวนั้นก็เป็นคนละแนวทางกับที่นายอภิสิทธิ์ได้เสนอกับทักษิณ ซึ่งนายอภิสิทธิ์เองก็ไม่ได้ร่วมลงนามในการถวายฎีการฉบับดังกล่าวนั้นด้วย
เพราะสิ่งที่นายอภิสิทธิ์เสนอทักษิณ เป็นการเสนอตามแนวทางรัฐธรรมนูญ คือเสนอให้ทักษิณและครม.รักษาการ ลาออกจากการทำหน้าที่รักษาการล่วงหน้า แล้วก่อนการลาออกจะมีผล ก็ให้ทักษิณไปทูลเกล้าขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานตามมาตรา 7 ด้วยตนเอง เพราะในเวลานั้นวุฒิสภาก็หมดวาระไปแล้ว จึงไม่สามารถสรรหานายกฯ จากวุฒิสภาได้
ส่วนการถวายฎีกาขอนายกพระราชทานของกลุ่มการเมืองที่อิงพันธมิตรในปี 2549 (แต่ไม่ใช่กลุ่มพันธมิตร) เป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นประชาธิปไตย ถือเป็นกึ่ง ๆ ก้าวล่วงพระราชอำนาจด้วยซ้ำ
จึงทำให้ในหลวงทรงต้องมีพระราชดำรัสปรามในเรื่องดังกล่าว
--------------------------
ในหลวงพระราชดำรัสเรื่อง มาตรา 7
ส่วนหนึ่งของพระราชดำรัสของในหลวง พระราชทานแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549
"....เรื่องนี้ยุ่ง เพราะว่าถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตยของเรามีศาลหลายชนิดมากมาย และมีสภาหลายแบบ และทุกแบบนี่จะต้องเข้ากันปรองดองกัน และคิดทางที่จะแก้ไขได้ พูดเรื่องนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย จึงขอร้องอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้องตั้งมาตรา 7
มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งขอยืนยันว่า มาตรา 7 นั้น ไม่ได้หมายถึงมอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามใจ ไม่ใช่ มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำ เขาจะนึกว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยพูด ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย
อ้างถึงครั้งก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของ อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตอนนั้นมีสภา สภามีอยู่ ประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ รองประธานสภาทำหน้าที่ และมีนายกฯ ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าที่ทำครั้งนั้นผิดรัฐธรรมนูญ ตอนนั้นไม่ใช่นายกฯ พระราชทาน นายกฯ พระราชทานหมายความว่า ตั้งนายกฯโดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์ เมื่อครั้ง อ.สัญญา ได้รับตั้งเป็นนายกฯ เป็นนายกฯ ที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ รองประธานสภานิติบัญญัติ
อันนั้นไปทบทวนประวัติศาสตร์หน่อย ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบ มีกฎเกณฑ์ที่รองรับแล้วก็งานอื่นๆ ก็มี แม้จะที่เรียกว่าสภาสนามม้า สภาสนามม้า แต่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองฯ นายกรัฐมนตรี อ.สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับสนองพระบรมราชโองการ ก็สบายใจว่าทำอะไรแบบถูกต้องตามครรลองของรัฐธรรมนูญ แต่ครั้งนี้ก็จะให้ทำอะไรผิดรัฐธรรมนูญ ใครเป็นคนบอกก็ไม่ทราบนะ ฉะนั้นก็ขอให้ช่วยปฏิบัติอะไร คิดอะไร ไม่ให้ผิดกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นสิ่งที่เป็นอุปสรรค และมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป"
คำอธิบายเสริม
คือตอนที่จอมพลถนอมลาออกไปแล้ว ก็มีรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติในตอนนั้นทำหน้าที่รับสนองพระราชโองการแต่งตั้งท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญ 2517 ประกาศใช้และมีการเลือกตั้งทั่วไป ตอนนั้นพรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง ท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลได้ทำหน้าที่รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
-------------------
อีกส่วนหนึ่งในพระราชดำรัส แก่ผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม ในวันที่ 25 เมษายน 2549
"ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกพระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย. ถ้าไปอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด. มันอ้างไม่ได้. มาตรา 7 มี 2 บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีหรือตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้นายกพระราชทานเป็นต้น.
จะขอนายกพระราชทานไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษพูด แบบมั่ว แบบไม่มี ไม่มีเหตุมีผล. สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่ ที่แจ่มใส สามารถ ควรที่จะสามารถที่จะไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ. คือ ปกครองต้องมี ต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วน เขาว่าไม่ได้. แต่ก็เขา แต่อาจจะหาวิธีที่จะ ที่จะตั้งสภาที่ไม่ครบถ้วน และทำงาน ทำงานได้. ก็รู้สึกว่ามั่วอย่างที่ว่า. ต้องขอโทษอีกทีนะ ใช้คำว่ามั่ว ไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว
แต่ว่าปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดอะไรแบบ แบบว่าทำปัดๆ ไป ให้เสร็จๆ ไป. ถ้าไม่ได้ เขาก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอย่างอื่น เพราะพระมหากษัตริย์ ไม่ ไม่มีหน้าที่ที่จะไปมั่ว.ก็เลยขอร้องฝ่ายศาลให้คิดช่วยกันคิด"
นายกมาตรา 7 ปี 2557 แตกต่างจากนายกพระราชทาน ปี 2549
กล่าวย้อนไปหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหนีไปต่างประเทศแล้ว
ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่เสมือนสภาผู้แทนราษฎรอยู่ ยังมีประธานสภานิติบัญญติอยู่ แต่ประธานติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ
ทำให้ปีนั้นรองประธานสภานิติบัญญัติ จึงเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
กรณีท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงเป็นนายกรัฐมนตรีที่ในหลวงทรงพระราชทานให้คนไทย
ในปี 2549 มีคนถวายฎีกาให้ในหลวงพระราชทานนายกรัฐมนตรีให้ ซึ่งนั่นไม่เป็นประชาธิปไตยแน่นอน อีกทั้งทักษิณก็ยังเป็นนายกรัฐมนตรีรีกษาการอยู่
แต่ในปี 2557 หากยิ่งลักษณ์ต้องพ้นจากการทำหน้าที่รักษาการนายกฯ จะเพราะสาเหตุการชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. หรือจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญให้พ้นสภาพรัฐมนตรีก็ตาม
กรณีดังกล่าวก็จะเกิดภาวะสุญญากาศทางการเมืองทันที แต่สุญญากาศเพราะความผิดของยิ่งลักษณ์เอง แต่พวกมันจะแถโทษองค์กรอิสระ ศาล และอำมาตย์ตามสันดานคนชั่ว
ซึ่งทำให้ต้องสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งแตกต่างจากทูลเกล้าถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานเมื่อปี 2549 อย่างชัดเจน
นายกรัฐมนตรีที่จะมาจากมาตรา 7 ในปี 2557 จึงไม่ใช่ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน เหมือนการถวายฎีกาในปี 2549
เพราะปี 2557 จะมีวุฒิสภาที่สามารถทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ เพราะการนำมาตรา 7 มาใช้ครั้งนี้ จะเป็นการนำมาใช้เพื่อเปิดทางให้ใช้รัฐธรรมนูญมาตราอื่น ๆ ในลักษณะเทียบเคียงได้เท่านั้น
(สมมุติถ้าไม่มีวุฒิสภา นั่นแหละ ถึงจะเข้าหลักเรื่องการทูลขอนายกพระราชทานตามมาตรา 7)
ฉะนั้นสถานการณ์การเมืองปี 2557 จึงแตกต่างจากปี 2549 โดยสิ้นเชิงครับ
คลิกอ่าน สุญญากาศทางการเมืองเกิดขึ้นแล้วตามรัฐธรรมนูญมาตรา 171
คลิกอ่าน ทางออกประเทศไทย คือมี นายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2
เห็นดีและงามตามที่คุณใหม่ เมืองเอก ได้ลำดับ จัดสาระความ และเหตุผล ตามสภาวะเหตุการณ์ และ กาล เวลา ให้ถือตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ในหมวดที่ ๑ และ หมวดที่ ๓ ส่วนที่ไอ้สันดานเหลือเดนคนทั้งหลายคัดค้าน (หมวดที่ ๑ และหมวดที่ ๓)นั้น ในส่วนของพวกมัน รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ หมวดที่ ๙ จะนำมาใช้อีกไม่ได้(ยังจะให้มีการเลือกตั้ง) เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชี้สิ้นสุดความเป็นนายกฯ และคณะรัฐมนตรี ไปแล้ว ( คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เข้าใจถูกแล้ว ส่วนวุฒิสภา ยังมี สว.ไอ้หน้าเหลี่ยม แต่วุฒิสภาส่วนใหญ่เข้าใจ หมวดที่ ๙ สิ้นสุดแล้วทุกประการ ไม่ต้องไปฟังไอ้พวกเศษเดนคน นปช. ไม่ต้องมาขู่สงครามกลางเมือง มันไม่กล้าดอก ฟันธง/แสงรวี-สงขลา/
ตอบลบ